วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Recording Diary 14


                                                         Recording Diary 14
                             Science Experiences Management for Early Childhood
                                                      Ms. Jintana Suksamran
                                        November 8,2016 Group 101 (Tuesday)
                                                       Time 08.30-12.30 PM.

Content (เนื้อหา)
   อาจารย์ให้ให้นักศึกษานำคลิปวิดิโอที่ไปแก้ไขจากสัปดาห์ที่แล้ว มาเปิดให้ดูอีกครั้ง

ขวดน้ำนักขนของ

คานดีดไม้ไอติม
                                      

รถพลังงานลม
---------------------------------------------------------------

   จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มหน่วยการสอนของตนเอง แล้วให้ช่วยกันคิดเกี่ยวกับการจัดการสอนทั้ง 5 วัน หลังจากนั้นอาจารย์ก็จะถามทีละคน เพื่อให้คำแนะนำและการนำไปปรับปรุงแก้ไข
                                        หน่วยการสอนของแต่ละกลุ่มมีดังนี้
                                              กลุ่มที่ 1 หน่วยต้นไม้
                                              กลุ่มที่ 2 หน่วยไข่
                                              กลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้
                                              กลุ่มที่ 4 หน่วยดอกไม้
                                              กลุ่มที่ 5 หน่วยปลา
                                              กลุ่มที่ 6 หน่วยยานพาหนะ
                                              กลุ่มที่ 7 หน่วยอากาศ (กลุ่มของฉัน)
                                      
** การสอนของแต่ละวันของหน่วยอากาศ
  🔺วันจันทร์ (ประเภท) ⇒ สอนโดยใช้เพลง
  🔺วันอังคาร (คุณสมบัติ) ⇒ สอนโดยการทดลอง
  🔺วันพุธ (ปัจจัยที่ทำให้เกิดฤดูกาล) ⇒ สอนโดยการใช้เพลง
  🔺วันพฤหัสบดี (ประโยชน์) ⇒ สอนโดยการเล่านิทานประกอบ
  🔺วันศุกร์ (ผลกระทบ/โทษ) ⇒ สอนโดยการใช้บัตรภาพและเล่านิทาน
   
   อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มจับฉลากเพื่อเลือกว่าหน่วยไหนจะสอนวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี หรือวันศุกร์ ที่จะใช้สำหรับการสอนในสัปดาห์หน้า โดยอาจารย์ให้หน่วยยานพาหนะและหน่วยอากาศเลือกหรือตกลงกันเองภายในกลุ่มว่าจะสอนวันไหน เพราะต่างจากหน่วยอื่นๆ จากนั้นอาจารย์ก็แจกตารางแผนการสอนให้นักศึกษาเขียนแผนการสอนของตนเองและส่งอาจารย์

                                   ➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽

คำศัพท์น่ารู้
  Tale = นิทาน
Manage = จัดการ
Toxic fumes = ควันพิษ
Danger = อันตราย
Update = ปรับปรุง

Teaching methods (วิธีการสอน)
  -สอนโดยการให้คำแนะนำ 
  -สอนโดยการบรรยาย  
  -สอนโดยการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหา
  -สอนโดยการทำกิจกรรมกลุ่ม

Skill (ทักษะที่ได้)
  -ทักษะการคิด วิเคราะห์ 
  -ทักษะการบูรณาการ การประยุกต์ใช้
  -การแสดงความคิดเห็น 
  -การคิดเชื่อมโยง
  -การเขียนแผน การใช้ภาษา

Adoption (การนำไปประยุกต์ใช้)
   -สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการเขียนแผนการสอน จัดประสบการณ์ผ่านการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสมกับเด็ก และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยต่างๆ
   -สามารถนำแผนการสอนต่างๆมาปรับปรุงเพิ่มเติม เชื่อมโยงการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างหลากหลาย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
   -สามารถนำมาเป็นความรู้สำหรับการเรียนหรือศึกษาต่อในอนาคตได้

Assessment (การประเมินผล)
 ประเมินตัวเอง
   ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย จดบันทึกใจเนื้อหาสำคัญ ปรึกษากับเพื่อนในกลุ่ม ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ

  ประเมินเพื่อน  
   เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี และมีการปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม

  ประเมินอาจารย์
   อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาดี มีอุปกรณ์พร้อมสอน ยกตัวอย่าง ให้คำแนะนำในการเขียนแผนเป็นอย่างดี ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น



วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Recording Diary 13

Recording Diary 13
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana Suksamran
November 1,2016 Group 101 (Tuesday)
Time 08.30-12.30 PM.

Content (เนื้อหา)
   อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาเปิดคลิปวิดิโอขั้นตอนการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ และให้ข้อแนะนำและข้อเสนอแนะแต่ละกลุ่ม 
หลอดมหัศจรรย์



รถพลังงานลม


 คานดีดไม้ไอติม

ขวดน้ำนักขนของ


   ในการทำคลิปวิดิโอของเล่นวิทยาศาสตร์ ควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1.มีตัวหนังสือบอกขั้นตอนในการทำ เพื่อทำให้ภาษาชัดเจนมากยิ่งขึ้น
2.มีชื่อคณะผู้จัดทำ มหาวิทยาลัย คณะ สาขาที่เรียน
3.ถ่ายให้เห็นผู้ประดิษฐ์
4.มีสรุปท้ายขั้นตอน มีตัวหนังสือขั้นตอนการทำทั้งหมดโดยไม่มีรูปภาพ
5.มีการทดลองการเล่น ซึ่งเป็นกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์
6.แต่งกายสุภาพ หรือชุดนักศึกษาเพื่อบ่งบอกถึงสถานศึกษา
7.ในตอนท้ายของวิดิโอ ควรมีการบอกหน้าที่ในการทำ ว่าใครทำหน้าที่ใดบ้าง เช่น การตัดต่อ อัดเสียง ถ่ายภาพ เป็นต้น
********************************************
   อาจารย์อธิบาย การจัดประสบการณ์ ซึ่งจะต้องคำนึงถึง
พัฒนาการ 4 ด้าน ดังนี้
1.ด้านร่างกาย 
   ขอบข่ายของด้านร่างกายคือ การเคลื่อนไหว ซึ่งมีการทำงานเกิดขึ้นมาจาก ความสัมพันธ์ระหว่างประสาทกับอวัยวะ ประกอบด้วย
      -ความสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อกับอวัยวะ
      -สุขภาพอนามัย จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
      -การเจริญเติบโต ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อหรืออวัยวะต่างๆ ตัวที่จะทำให้เกิดการเจริญเติบโต คือ ส่วนสูง น้ำหนัก
2.ด้านอารมณ์-จิตใจ
    โครงข่ายคือ การแสดงออกถึงความนึกคิดที่เป็นอยู่ หรือการรับรู้ความรู้สึกคนอื่น 
      -การแสดงความรู้สึก เช่น หน้าบึ้ง การยิ้ม
      -การรับรู้ความรู้สึกของคนอื่น
3.ด้านสังคม
     โครงข่ายคือ การมีปฎิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นและช่วยเหลือตนเอง ดูแลตนเองได้
4.ด้านสติปัญญา
    กรอบหรือโครงข่ายคือ การคิดและภาษา
       -การคิด มี 2 แบบ คือ การคิดเชิงเหตุผล เป็นการแก้ไขปัญหา และการคิดสร้างสรรค์เป็นตัวย่อยของการคิด
       -ภาษา (เรารู้ว่าทำอะไรอยู่ แล้วสามารถสื่อสารออกมาเป็นภาษาได้ ซึ่งเป็นการทำงานของสมอง)

   อาจารย์ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มที่แบ่งจากสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อระดมความคิดในการจัดทำแผนการสอนตามหน่วยของตัวเอง
  โดยให้จัดแผนการสอนมาบูรณาการกับทั้ง 6 สาระ ดังนี้
1.คณิตศาสตร์
    มาตรฐาน: จำนวนและการดำเนินการ การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 
    ทักษะ: การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การเชื่อมโยง และการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
2.วิทยาศาสตร์
   มาตรฐานสาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต                                                                                     สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
                  สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
                                          สาระที่ 4  แรงและการเคลื่อนที่
                                          สาระที่ 5 พลังงาน
                                          สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
                                          สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
                                          สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                            ทักษะ: สำรวจ สังเกต จำแนก
                            กระบวนการ:   ตั้งประเด็นปัญหา
                                                        ⇣
                                                 ตั้งสมมุติฐาน
                                                        ⇣
                                             ทดลอง(เก็บข้อมูล)
                                                        ⇣
                                            สรุปและอภิปรายผล
                         3.ภาษา
                               -การฟัง
                               -การพูด
                               -การอ่าน
                               -การเขียน
                         4.ศิลปะ
                               -วาดภาพ/ระบายสี
                               -ฉีก/ตัด/ปะ
                               -ปั้น
                               -ประดิษฐ์
                               -เล่นกับสี
                               -พิมพ์
                          5.สังคม
                              -การมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น
                              -การช่วยเหลือตนเอง
                              -การมีมารยาทในสังคม
                          6.สุขศึกษา/พลศึกษา
                             -การเจริญเติบโต
                             -ชีวิตและครอบครัว 
                             -การเคลื่อนไหว 
                             -การเสริมสร้างสุขภาพ 
                             -ความปลอดภัยในชีวิต


   จากนัันอาจารย์ก็ให้ช่วยกันระดมความคิดการออกแบบกิจกรรม 6 กิจกรรมหลัก ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยของแต่ละวัน ประกอบด้วยดังนี้


⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁
คำศัพท์น่ารู้
  Independent =อิสระ
Inventive = สร้างสรรค์
Steam = ไอน้ำ
Reason = เหตุผล
Probability = ความน่าจะเป็น

Teaching methods (วิธีการสอน)
  -สอนโดยการให้คำแนะนำ 
  -สอนโดยการบรรยาย 
  -การสอนโดยอธิบาย 
  -สอนโดยการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหา
  -สอนโดยการตั้งคำถาม

Skill (ทักษะที่ได้)
  -ทักษะการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์
  -ทักษะการบูรณาการ การประยุกต์ใช้
  -การแสดงความคิดเห็น ทำงานเป็นทีม
  -การคิดเชื่อมโยง

Adoption (การนำไปประยุกต์ใช้)
   -สามารถนำความรู้ที่ได้จากการนำเสนอของเล่นเพื่อนมาประยุกต์ใช้และปรับเปลี่ยนให้เกิดความแปลกใหม่และนำมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนได้มากยิ่งขึ้น
   -สามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับทักษะพื้นฐาน กระบวนการ และมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเข้าใจ และนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับเด็กได้
   -สามารถออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับ 6 กลุ่มสาระ เพื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย

Assessment (การประเมินผล)
 ประเมินตัวเอง
    ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย จดบันทึกใจความสำคัญของเนื้อหา วิเคราะห์แสดงความคิดเห็นให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

  ประเมินเพื่อน  
   เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี และมีการปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม

  ประเมินอาจารย์
   อาจารย์ใจดี เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นกันเอง อธิบายเนื้อหาเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างประกอบการสอน