วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ของเล่นวิทยาศาสตร์(งานกลุ่ม)

ของเล่นวิทยาศาสตร์(งานกลุ่ม)

เรือใบไม่ล่ม

ชื่อสมาชิก
                                                    1.นางสาวนิตยา  นนทคำจันทร์
                                                    2.นางสาวนันทนาภรณ์  คำอ่อน  
                                                    3.นางสาวสาวิตรี  จันทร์สิงห์


อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ
    1.ขวดน้ำ
    2.กล่องนม
    3.เทปใส
    4.ฟิวเจอร์บอร์ด
    5.ปืนกาว
    6.กรรไกร
  7.คัตเตอร์

ขั้นตอนการทำ
    1.นำเทปใสพันขวดน้ำกับกล่องนมติดกัน โดยเอากล่อมนมไว้ข้างล่าง ขวดน้ำไว้ข้างบน  
    2.ตัดฟิวเจอร์บอร์ดเป็นตัวเรือ ใบพัด หรือตามแบบที่ต้องการ 
    3.ใช้ปืนกาวติดตัวเรือมาติดกับขวดน้ำ และใบพัด ตกแต่งเรือตามต้องการ
วิธีเล่น
   4.นำเรือใบไปลอยน้ำ แล้วใช้มือปัดเรือปัด เรือใบก็จะไม่ล่ม สามารถเล่นคนเดียวและเล่นแข่งกันได้เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน

เรือใบไม่ล่มเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
     จุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity : CG)  หากสังเกตวัตถุต่าง ๆ ที่เป็นของแข็งและมีรูปทรง การวางวัตถุบนพื้นระนาบจะมีลักษณะสมดุลย์ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและแนวของจุดศูนย์ถ่วง 
      จุดศูนย์ถ่วง คือจุดที่เหมือนตำแหน่งที่รวมของน้ำหนักของวัตถุทั้งก้อน
      การเคลื่อนที่ของเรือใบไม่ล่ม หางเสือจะทำหน้าที่ควบคุมทิศทางไปตามลม ส่วนกล่องนมเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วงให้อยู่ใต้น้ำ บริเวณผิวน้ำไม่มีจุดศูนย์ถ่วงเรือใบจึงไม่ล่ม

การบูรณาการรถพลังงานลมกับการเรียนรู้แบบ STEM
     STEM คือ เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
          Science (วิทยาศาสตร์) = การเคลื่อนที่ของเรือใบ
          Technology (เทคโนโลยี) = ขั้นตอนการทำเรือใบไม่ล่ม                   
          Engineering (วิศวะ) = รูปแบบเรือใบไม่ล่ม                                              
          Mathematics (คณิตศาสตร์) = จำนวน ขนาด รูปทรง 

Recording Diary 12

Recording Diary 12
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana Suksamran
October 25,2016Group 101 (Tuesday)
Time 08.30-12.30 PM.

Content (เนื้อหา)
   อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำ Mind Map ที่นำไปแก้ไขจากอาทิตย์ที่แล้วมาส่ง แล้วอาจารย์ก็อธิบาย ให้คำแนะนำเพิ่มเติมแต่ละหน่วย และให้นักศึกษาแต่ละคนทำ Mind Map หน่วยที่ทำตามกลุ่มของตัวเองแล้วนำมาส่งอาจารย์ โดยเขียนให้ละเอียดกว่าเดิม

กลุ่มของฉัน หน่วย อากาศ

 กลุ่มที่ 2 หน่วยต้นไม้



กลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้ 

 กลุ่มที่ 4 หน่วยปลา

 กลุ่มที่ 5 หน่วย ยานพาหนะ

 กลุ่มที่ 6 หน่วยไข่

 กลุ่มที่ 7 หน่วยดอกไม้

  เนื้อหาสาระในแต่ละกลุ่มจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้
        -ชนิด/ประเภท
        -ลักษณะ
        -ปัจจัยในการดำรงชีวิต/การเปลี่ยนแปลง/การรักษา/การถนอม
        -ประโยชน์
        -ข้อควรระวัง
   ในการทำ Mind Map มีหลักการเขียนดังนี้
       1 เขียนโดยการวนตามเข็มนาฬิกา เรียงจากขวาไปซ้าย ทำให้เข้าใจง่าย
       2 บันทึกความรู้จากหัวข้อหลัก ข้อรอง และข้อย่อย เพื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
       3 มีภาพประกอบเนื้อหา ไม่มากจนเกินไป
       4 เพื่อความอ่านง่าย ควรเขียนตัวอักษรให้ชัดเจน

 --------------------------------------------------------------
   จากนั้นอาจารย์ก็สอนการเชื่อมโยงหน่วยต่างๆ ให้สอดคล้องกับ มาตรฐานการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยการเชื่อมโยง จะต้องดูที่ตัวบ่งชี้ในแต่ละสาระและเชื่อมโยงเรื่องที่จะสอนเข้าด้วยกัน โดยให้สอดคล้อง และนำมาจัดกิจกรรมให้เด็กได้รับประสบการณ์โดยตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้


     มาตรฐานการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
สาระที่  1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว  1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของ
ระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว  1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ   ในระบบนิเวศ     มีกระบวนการสืบเสาะ        หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2  เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร   ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2  เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร   การเกิดสารละลาย   การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม  
มาตรฐาน ว 4.2  เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการ           
                        สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์   สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้
                        ประโยชน์
สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5.1  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน  ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม   มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1  เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7.1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐาน ว 7.2  เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 8  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

   จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาเขียนแผนการสอน โดยให้นักศึกษาเลือกกันภายในกลุ่มว่าแต่ละคนจะทำวันไหนใน 5 วัน และเมื่อเลือกได้แล้วให้แต่ละคนเขียนเเผนการสอนคราวๆมาส่งอาจารย์

---------------------------------------------------------------------
คำศัพท์น่ารู้
  Factor  = ปัจจัย
Season= ฤดูกาล
Vehicle = ยานพาหนะ
Livelihood = การดำรงชีวิต
Nourishment = การบำรุงรักษา

Teaching methods (วิธีการสอน)
  -สอนโดยการให้คำแนะนำ
  -การสอนโดยอธิบาย 
  -สอนโดยการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหา

Skill (ทักษะที่ได้)
  -ทักษะการคิด วิเคราะห์
  -ทักษะการบูรณาการ การประยุกต์
  -การนำเสนอ
  -การเชื่อมโยง
  -การแสดงความคิดเห็น

Adoption (การนำไปประยุกต์ใช้)
   -สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเขียน Mind Map ให้ถูกต้อง มาให้ในการเรียนการสอนได้
   -สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดการเรียนรู้ การศึกษาในอนาคต
   -สามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเข้าใจ และนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับเด็กได้

Assessment (การประเมินผล)
 ประเมินตัวเอง
   เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย จดบันทึกใจความสำคัญของเนื้อหา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

  ประเมินเพื่อน  
   เพื่อนๆตั้งใจเรียน เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี และช่วยกันตอบคำถามอาจารย์

  ประเมินอาจารย์
   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีการเตรียมการเรียนการสอนมาดี อธิบายเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างประกอบการสอนในเนื้อหา

Recording Diary 11

Recording Diary 11
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana Suksamran
October 18,2016
Group 101 (Tuesday) 
Time 08.30-12.30 PM.

Content (เนื้อหา)

   เริ่มต้นการเรียนการสอนโดยการทบทวนบทเรียนที่ผ่านมาจากทุกๆสัปดาห์ นักศึกษาได้เรียนรู้อะไรบ้าง การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการลงมือกระทำและมั่นสังเกต รวมถึงการมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวด้วย
   จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาส่งของเล่นกลุ่มที่อาจารย์ให้นำกลับไปแก้ไขแล้ว และให้คำเเนะนำเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น และบอกถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับของเล่นแต่ละชิ้น
รางลาดเอียง
รางลาดเอียง
หลักทางวิทยาศาสตร์
  เป็นการไหลตามแรงโน้มถ่วงของโลก เมื่อวางลูกเเก้วลงลูกแก้วกลิ้งไปตามระดับพื้นหรือตามแรงโน้มถ่วงของโลก ยิ่งมีความลาดเอียงมากเท่าไร ลูกแก้วก็จะยิ่งกลิ้งตกลงสู่พื้นเร็วเท่านั้น อาจาย์แนะนำว่าถ้าหากรางลาดเอียงสามารถเปลี่ยนทิศทางการลาดเอียงได้ จะทำให้เด็กเกิดความสนใจในของเล่นมากยิ่งขึ้น

ตุ๊กตาลม คืนชีพ
ตุ๊กตาลม คืนชีพ
หลักการทางวิทยาศาสตร์
   เกิดแรงดันอากาศ เมื่อเป่าลมเข้าไปในถ้วยกระดาษจะไปเพิ่มแรงดันภายในถ้วยกระดาษ ทำให้ถุงพลาสติกพองออกมา เเต่ถ้าดูดอากาศในถ้วยอากาศ ทำให้แรงดันอากาศภายในลดลง แรงดันอากาศภายนอกมีมากกว่าจึงมากระทำกับถุงพลาสติก จึงทำให้ถุงพลาสติกยุบเข้าไปภายในถ้วยกระดาษ อาจารย์เเนะนำว่า สามารถนำมาจัดกิจกรรมให้เด็กได้ทำของเล่นด้วยตัวเองได้ดีเพราะได้ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการอย่างเต็มที่ แต่ไม่ควรจัดเป็นสื่อเข้ามุม เพราะการใช้หลอดเป่าร่วมกันทำให้เกิดเชื้อโรคได้ 
ลูกแก้วลาดเอียง
ลูกแก้วลาดเอียง
หลักการวิทยาศาสตร์
   ใช้หลักการเดียวกับของเล่นรางลาดเอียง เป็นการกลิ้งลูกแก้วไปตามทิศทางต่างๆ สามารถกำหนดทิศทางด้วยตัวเองได้ 
----------------------------------------------------------
   จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน นั่งตามกลุ่ม แล้วแจกกระดาษชาร์ต สีเมจิก ให้ครบทุกกลุ่ม อาจารย์ให้นักศึกษาระดมความคิด การจัดประสบการณ์การสอนวิทยาศาสตร์ โดยคิดหน่วยการสอนที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ และนำเสนอโดยทำเป็น Mind Map โดยแต่ละหน่วยจะต้องสอดคล้องกับสาระสำคัญทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้
   1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวฉัน
   2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
   3.ธรรมชาติรอบตัว
   4.สิ่งต่างๆรอบตัว

แต่ละกลุ่มระดมความคิด
 ***   กลุ่มของฉันเลือกทำ หน่วยอากาศ  ***
ประกอบหัวข้อสำคัญดังนี้
           1.ลักษณะ
                -คุณสมบัติ
                -องค์ประกอบ
            2.ปัจจัย
                 -ฤดูกาล
            3.ประโยชน์
                 -เชิงพาณิชย์
                 -ตัวเรา
            4.ข้อควรระวัง
ภาพกิจกรรม

ช่วยกันระดมความคิด
ผลงาน หน่วยอากาศ
ผลงานของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม

หน่วยยานพาหนะ 

หน่วยต้นไม้

 หน่วยผลไม้

หน่วยปลา

หน่วยไข่

หน่วยดอกไม้

   หลังจากทำเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มนำแผ่นชาร์ตมาติดหน้ากระดาน และอธิบายเนื้อหาของแต่ละหน่วย เพื่อนำไปแก้ไขและปรับใช้ให้ดียิ่งขึ้น

-------------------------------------------------------------------------
คำศัพท์น่ารู้
  Teaching = การสอน
Presentation = การนำเสนอ
Principles = หลักการ
Rolling = การกลิ้ง
Tilt = การเอียง

Teaching methods (วิธีการสอน)
  -สอนโดยอธิบาย
  -การสอนโดยการใช้คำถาม ให้คำแนะนำ 
  -สอนโดยการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหา
  -การสอนโดยศึกษาค้นคว้า คิดด้วยตัวเอง
  -สอนโดยการทำความเข้าใจ

Skill (ทักษะที่ได้)
  -ทักษะการคิด วิเคราะห์
  -ทักษะการบูรณาการ
  -การใช้ภาษาในการสื่อสารให้ถูกต้อง
  -การนำเสนอ
  -การแสดงความคิดเห็น

Adoption (การนำไปประยุกต์ใช้)
   -สามารถนำความรู้ที่ได้จากหลักการวิทยาศาสตร์มาใช้ในการสอนได้จริง เพื่อส่งเสริมประสบการณ์ และการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง
   -สามารถนำไปต่อยอดการเรียนรู้ที่ดีได้
   -ได้ความรู้ ความเข้าใจ หรือสามารถทำมาเป็นความรู้เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ 

Assessment (การประเมินผล)
 ประเมินตัวเอง
   ตั้งใจเรียน ขยัน ไม่พูดคุยเสียงดัง พยายามทำความเข้าใจ และจดบันทึกกับเนื้อหาหรือสาระที่สำคัญ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม แสดงความคิดเห็นภายในกลุ่ม 

  ประเมินเพื่อน  
   เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีบางกลุ่มพูดคุยเสียงดัง แต่ก็ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี และทุกคนต่างก็ทำผลงานกลุ่มของตัวเองออกมาให้ดี

  ประเมินอาจารย์
   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  เป็นกันเองกับนักศึกษา ให้คำแนะนำในการเรียนและการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี อาจารย์จะคอยยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้มากที่สุด

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Recording Diary 10

Recording Diary 10
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana Suksamran
October 11,2016
Group 101 (Tuesday) 
Time 08.30-12.30 PM.

Content (เนื้อหา)

  อาจารย์ให้นักศึกษาส่งของเล่นงานกลุ่ม หลังจากที่อาจารย์ให้ไปเเก้ไขมาแล้ว และให้คำแนะนำเพิ่มเติม จากนั้นก็เเจกกระดาษให้นักศึกษาคนละเเผ่น แล้วให้เขียนขั้นตอนในการทำของเล่นที่ตัวเองทำ โดยใช้ภาษาให้กระชับ เข้าใจง่าย และให้ตีกรอบในแต่ละขั้น และทำลูกศรชี้ในแต่ละขั้น

ขั้นตอนการประดิษฐ์ของเล่น
 
จากการทำกิจกรรมนี้ สามารถจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ โดยใช้แนวคิด STEM & STEAM
       Science = ลำดับขั้นตอน
       Technology = การเขียนโดยใช้แผนผังกราฟฟิก เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
       Engineering = การวางแผน การออกแบบ รูปเเบบ
       Mathematics = การคิด ลำดับ จำนวน
   ในการเขียนขั้นตอนประดิษฐ์ของเล่นลงบนกระดาษ แล้วตีกรอบข้อความ เพื่อต้องการนำมาบูรณาการ เทคโนโลยี ตัว T จากระบบ STEM & STEAM

นำผลงานมาติดหน้ากระดาน
การจัดประสบการณ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
   อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 8 คน แล้วเลื่อกของเล่นของเพื่อนในกลุ่มมา 1 ชิ้น เพื่อนำไปจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก กลุ่มของฉันเลือกของเล่น รถพลังงานลม

ตัวอย่าง รถพลังงานลม
ขั้นตอนการประดิษฐ์ รถพลังงานลม
  เมื่อเราได้ของเล่นเเล้ว ก็ช่วยกันระดมความคิด และแบ่งหน้าที่ในการทำงาน ในขั้นตอนการทำของเล่น อาจารย์ให้อัดคลิปวิดิโอลง Youtube และทำมาใช้ในการสอน โดยการจัดประสบการณ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ จะต้องมีขั้่นตอนในการสอนดังนี้
   1.จัดเตรียมอุปกรณ์ให้ครบก่อนเสมอ
   2.ให้เด็กสังเกตอุปกรณ์แล้วตั้งคำถาม ถามเด็กโดยใช้ประสบการณ์เดิม
   3.ใช้สื่อในการสอน เช่น วิดิโอ
   4.สาธิตการทำ
   5.ให้เด็กได้ลงมือทำ ปฎิบัติ
   6.เด็กได้ลงมืเล่น ทดลอง
   7.แข่งขัน
   8. สรุป


นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 กลุ่ม มีดังนี้

กลุ่มที่ 1 คานดีดไม้ไอติม

กลุ่มที่ 2 ขวดน้ำนักขนของ

กลุ่มที่ 3 เครื่องเป่าลม 

กลุ่มที่ 4 รถพลังงานลม

 คำศัพท์น่ารู้
  Turbine = กังหัน
Wind = ลม
Toy = ของเล่น
Springing = การดีด
competition= การแข่งขัน

Teaching methods (วิธีการสอน)
  -การสอนโดยการบรรยาย
  -สอนโดยการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหา
  -การสอนโดยการใช้คำถาม ให้คำแนะนำ
  -การสอนโดยศึกษาค้นคว้า คิดด้วยตัวเอง

Skill (ทักษะที่ได้)
  -ทักษะในการสังเกต
  -ทักษะการคิด วิเคราะห์
  -ทักษะในการใช้เทคโนโลยี อุปกรณ์ต่างๆ
  -ทักษะการบูรณาการ
  -การใช้ภาษาในการสื่อสาร 
  -การนำเสนอ
  -การแสดงความคิดเห็น

Adoption (การนำไปประยุกต์ใช้)
   -สามารถนำสื่อมาใช้ในการสอนได้จริง เพื่อส่งเสริมประสบการณ์ และการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
   -สามารถนำสื่อไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้
   -สามารถนำความรู้ที่ได้นำไปปรับใช้ ในการออกแบบ ของเล่นทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
   -ได้ความรู้ ความเข้าใจ หรือสามารถทำมาเป็นความรู้เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ และการต่อยอดทางการศึกษา

Assessment (การประเมินผล)
 ประเมินตัวเอง
   เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน จดบันทึกเนื้อหาสาระที่สำคัญ ไม่พูดคุยเสียงดัง ช่วยเพื่อนระดมความคิดในการทำกิจกรรม

  ประเมินเพื่อน  
   เพื่อนๆตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยเสียงดัง ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆ นำเสนอผลงานของตัวเองได้ดี และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

  ประเมินอาจารย์
   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ ใจดี เป็นกันเองกับนักศึกษา อธิบายเข้าใจง่าย และให้คำแนะนำในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี


วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Recording Diary 9

Recording Diary 9
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana Suksamran
October 4,2016
Group 101 (Tuesday) 
Time 08.30-12.30 PM.

Content (เนื้อหา)


  วันนี้รุ่นพี่ปี 5 มาสอนกิจกรรมการทำ cooking ขนมปังสอดใส่กล้วย



อุปกรณ์
  1.กะทะ
  2.ตะหลิว
  3.จาน
  4.มีด
  5.เขียง
  6.ขวดน้ำ
ส่วนผสม
  1.ขนมปัง           1   แผ่น
  2.ไข่ไก่              1   ฟอง
  3.กล้วยหอม      3    ชิ้น
  4.น้ำตาลทราย   1/2 ช้อนชา
  5.นมข้นหวาน    1    ช้อนชา
  6.น้ำมันพืช         2    ถ้วย
ขั้นตอนการทำขนมปังทอดไส้กล้วย
  1.นำขนมปังตัดขอบมารีดเป็นแผ่นบางๆ
  2.นำกล้วยหอมมาหั่นใส่ขนมปัง
  3.นำขนมปังมาชุปไข่ แล้วนำไปทอดในน้ำมันร้อนๆ
  4.ทอดให้ขนมปังสีเหลืองนวล แล้วตักขึ้นมาพักไว้
  5.นำขนมปังมาใส่จานแล้วราดน้ำตาลทรายและนมข้นหวาน
   
   ก่อนการทำกิจกรรม ให้นักศึกษายืนเป็นเรียงกันเป็นวงกลม แล้วรุ่นพี่ก็ร้องเพลงพายเรือ แล้วก็จับกลุ่มในการทำกิจกรรม  โดยมีกลุ่มละ ประมาณ 5-6 คน จากนั้นก็ให้ไปนั่งตามกลุ่ม 



   ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีอุปกรณ์ในการทำคุกกิ้ง  ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ตัดขอบขนมปัง

กลุ่มที่ 2 ทำจานใส่คุกกิ้ง

 กลุ่มที่ 3 หั่นกล้วยหอมให้เป็นชิ้นบาง

กลุ่มที่ 4 ตีไข่ไก่

 กลุ่มที่ 5 น้ำตาลและนม

              ในการทำคุกกิ้ง ทุกคนจะได้หมุนเวียนไปทำทุกกลุ่ม ทุกคนจะได้ทำคุกกิ้งด้วยตัวเอง

ขันตอนที่ 1 
   ทำจานรองคุกกิ้ง โดยการใช้จานกระดาษมาวางทาบลงบนกระดาษ แล้วใช้ดินสอวาด และตัดตามรอย เมื่อเสร็จแล้วให้วางบนจานกระดาษ เพื่อรองอาหาร


ขั้นตอนที่ 2 
   ให้ตัดขอบขนมปัง และรีดขนมปังให้แบนโดยใช้มือกดขวดน้ำ กลิ้งกลับไปกลับมาบนขนมปังจนแบน




ขั้นตอนที่ 3 
   หั่นกล้วยหอมออกเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนหั่นออกเป็นชิ้นบางๆ 4 ชิ้น แล้วนำมาวางบนขนมปัง พับขนมปังเข้าหากัน แล้วบีบขอบให้ติดกัน เพื่อไม่ให้กล้วยไหลออกมา



ขั้นตอนที่ 4
   นำขนมปังมาชุปไข่ไก่ พลิกกับไปกับมาทั้งสองด้าน


ขั้นตอนที่ 5 
  นำขนมปังมาทอด เมื่อขนมปังเปลี่ยนเป็นสีเหลืองน้ำตาล มีกลิ่นหอม แสดงว่าขนมปังสุกแล้ว


ขั้นตอนที่ 6
  โรยน้ำตาลเล็กน้อย และใส่นม แล้วหั่นออกเป็นชิ้นเล็กๆ พอคำ 
                                   

เสร็จแล้วค่ะ  ขนมปังสอดไส้กล้วย


คำศัพท์น่ารู้
  Heat = ความร้อน
Boil = การเดือด
Bread = ขนมปัง
Fried =ทอด
Sprinkling=การโรย

Teaching methods (วิธีการสอน)
  -การสอนโดยการสังเกต
  -สอนโดยการทดลอง
  -สอนโดยการอธิบายเพื่อให้เข้าใจ
  -การสอนโดยการใช้คำถาม

Skill (ทักษะที่ได้)
  -ทักษะในการสังเกต
  -ทักษะในการลงมือปฎิบัติ
  -ทักษะในการตั้งประเด็นปัญหา ตั้งข้อสังเกต
  -การใช้ภาษาในการสื่อสาร 

Adoption (การนำไปประยุกต์ใช้)
   -ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในการจัดกิจกรรมทำอาหาร เพื่อบูรณาการวิทยาศาสตร์ 

Assessment (การประเมินผล)
 ประเมินตัวเอง
   เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ สนุกสนานกับการทำกิจกรรม

  ประเมินเพื่อน  
   เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรม ไม่พูดคุยเสียงดัง ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆ และมีความสนุกสนาน

  ประเมินรุ่นพี่ปี 5
   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนสนุก อธิบายเข้าใจง่ายและเป็นกันเอง