วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Recording Diary 11

Recording Diary 11
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana Suksamran
October 18,2016
Group 101 (Tuesday) 
Time 08.30-12.30 PM.

Content (เนื้อหา)

   เริ่มต้นการเรียนการสอนโดยการทบทวนบทเรียนที่ผ่านมาจากทุกๆสัปดาห์ นักศึกษาได้เรียนรู้อะไรบ้าง การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการลงมือกระทำและมั่นสังเกต รวมถึงการมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวด้วย
   จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาส่งของเล่นกลุ่มที่อาจารย์ให้นำกลับไปแก้ไขแล้ว และให้คำเเนะนำเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น และบอกถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับของเล่นแต่ละชิ้น
รางลาดเอียง
รางลาดเอียง
หลักทางวิทยาศาสตร์
  เป็นการไหลตามแรงโน้มถ่วงของโลก เมื่อวางลูกเเก้วลงลูกแก้วกลิ้งไปตามระดับพื้นหรือตามแรงโน้มถ่วงของโลก ยิ่งมีความลาดเอียงมากเท่าไร ลูกแก้วก็จะยิ่งกลิ้งตกลงสู่พื้นเร็วเท่านั้น อาจาย์แนะนำว่าถ้าหากรางลาดเอียงสามารถเปลี่ยนทิศทางการลาดเอียงได้ จะทำให้เด็กเกิดความสนใจในของเล่นมากยิ่งขึ้น

ตุ๊กตาลม คืนชีพ
ตุ๊กตาลม คืนชีพ
หลักการทางวิทยาศาสตร์
   เกิดแรงดันอากาศ เมื่อเป่าลมเข้าไปในถ้วยกระดาษจะไปเพิ่มแรงดันภายในถ้วยกระดาษ ทำให้ถุงพลาสติกพองออกมา เเต่ถ้าดูดอากาศในถ้วยอากาศ ทำให้แรงดันอากาศภายในลดลง แรงดันอากาศภายนอกมีมากกว่าจึงมากระทำกับถุงพลาสติก จึงทำให้ถุงพลาสติกยุบเข้าไปภายในถ้วยกระดาษ อาจารย์เเนะนำว่า สามารถนำมาจัดกิจกรรมให้เด็กได้ทำของเล่นด้วยตัวเองได้ดีเพราะได้ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการอย่างเต็มที่ แต่ไม่ควรจัดเป็นสื่อเข้ามุม เพราะการใช้หลอดเป่าร่วมกันทำให้เกิดเชื้อโรคได้ 
ลูกแก้วลาดเอียง
ลูกแก้วลาดเอียง
หลักการวิทยาศาสตร์
   ใช้หลักการเดียวกับของเล่นรางลาดเอียง เป็นการกลิ้งลูกแก้วไปตามทิศทางต่างๆ สามารถกำหนดทิศทางด้วยตัวเองได้ 
----------------------------------------------------------
   จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน นั่งตามกลุ่ม แล้วแจกกระดาษชาร์ต สีเมจิก ให้ครบทุกกลุ่ม อาจารย์ให้นักศึกษาระดมความคิด การจัดประสบการณ์การสอนวิทยาศาสตร์ โดยคิดหน่วยการสอนที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ และนำเสนอโดยทำเป็น Mind Map โดยแต่ละหน่วยจะต้องสอดคล้องกับสาระสำคัญทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้
   1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวฉัน
   2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
   3.ธรรมชาติรอบตัว
   4.สิ่งต่างๆรอบตัว

แต่ละกลุ่มระดมความคิด
 ***   กลุ่มของฉันเลือกทำ หน่วยอากาศ  ***
ประกอบหัวข้อสำคัญดังนี้
           1.ลักษณะ
                -คุณสมบัติ
                -องค์ประกอบ
            2.ปัจจัย
                 -ฤดูกาล
            3.ประโยชน์
                 -เชิงพาณิชย์
                 -ตัวเรา
            4.ข้อควรระวัง
ภาพกิจกรรม

ช่วยกันระดมความคิด
ผลงาน หน่วยอากาศ
ผลงานของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม

หน่วยยานพาหนะ 

หน่วยต้นไม้

 หน่วยผลไม้

หน่วยปลา

หน่วยไข่

หน่วยดอกไม้

   หลังจากทำเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มนำแผ่นชาร์ตมาติดหน้ากระดาน และอธิบายเนื้อหาของแต่ละหน่วย เพื่อนำไปแก้ไขและปรับใช้ให้ดียิ่งขึ้น

-------------------------------------------------------------------------
คำศัพท์น่ารู้
  Teaching = การสอน
Presentation = การนำเสนอ
Principles = หลักการ
Rolling = การกลิ้ง
Tilt = การเอียง

Teaching methods (วิธีการสอน)
  -สอนโดยอธิบาย
  -การสอนโดยการใช้คำถาม ให้คำแนะนำ 
  -สอนโดยการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหา
  -การสอนโดยศึกษาค้นคว้า คิดด้วยตัวเอง
  -สอนโดยการทำความเข้าใจ

Skill (ทักษะที่ได้)
  -ทักษะการคิด วิเคราะห์
  -ทักษะการบูรณาการ
  -การใช้ภาษาในการสื่อสารให้ถูกต้อง
  -การนำเสนอ
  -การแสดงความคิดเห็น

Adoption (การนำไปประยุกต์ใช้)
   -สามารถนำความรู้ที่ได้จากหลักการวิทยาศาสตร์มาใช้ในการสอนได้จริง เพื่อส่งเสริมประสบการณ์ และการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง
   -สามารถนำไปต่อยอดการเรียนรู้ที่ดีได้
   -ได้ความรู้ ความเข้าใจ หรือสามารถทำมาเป็นความรู้เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ 

Assessment (การประเมินผล)
 ประเมินตัวเอง
   ตั้งใจเรียน ขยัน ไม่พูดคุยเสียงดัง พยายามทำความเข้าใจ และจดบันทึกกับเนื้อหาหรือสาระที่สำคัญ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม แสดงความคิดเห็นภายในกลุ่ม 

  ประเมินเพื่อน  
   เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีบางกลุ่มพูดคุยเสียงดัง แต่ก็ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี และทุกคนต่างก็ทำผลงานกลุ่มของตัวเองออกมาให้ดี

  ประเมินอาจารย์
   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  เป็นกันเองกับนักศึกษา ให้คำแนะนำในการเรียนและการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี อาจารย์จะคอยยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้มากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น