วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Recording Diary 15

Recording Diary 15
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana Suksamran
November 15,2016 Group 101 (Tuesday)
Time 08.30-12.30 PM.

Content (เนื้อหา)
   อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนแผนการสอน หลังจากนั้นก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาจัดประสบการณ์ในแต่ละหน่วยของตนเองหน้าชั้นเรียน โดยเริ่มตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์


วันจันทร์⇨หน่วยผลไม้

ขั้นนำ ➜ สอนโดยการอ่านคำคล้องจองผลไม้หรรษา เริ่มโดยการอ่านให้ฟังก่อน 1 รอบ จากนั้นให้อ่านตาม และอ่านพร้อมกัน ครูถามเด็กๆว่าในคำคล้องจองมีผลไม้อะไรบ้าง แล้วเขียนลงแผ่นชาร์ต
ขั้นสอน ➜นำตระกร้าผลไม้ที่มีผ้าคลุมไว้ออกมา แล้วถามเด็กๆคิดว่าในตระกร้านี้มีอะไรอยู่ในนี้น้า จากนั้นก็ค่อยหยิบผลไม้ออกมาทีละ 1 ชิ้น วางเรียงไว้ข้างหน้าจากซ้ายไปขวาจนครบ เมื่อครบเเล้วให้เด็กนับผลไม้ที่วางเรียงอยู่ว่ามีกี่ชิ้น จากนั้นครูหยิบผลไม้ขึ้นมาหนึ่งชิ้นและถามเด็กๆว่า "เด็กลองสังเกตผลไม้ซิว่ามันมีลักษณะอย่างไรเป็นอย่างไร"ครูอธิบายลักษณะของผลไม้ที่เป็นผลไม้เดี่ยวและผลกลุ่ม "ผลไม้ผลเดี่ยวมีด้านใดด้านหนึ่ง แล้วส่วนที่เหลือเป็นผลกลุ่ม"จากนั้นนับว่ากลุ่มไหนมีจำนวนมากกว่ากันโดยการหยิบเเบบ 1 ต่อ 1 ครูสรุปประเภทของผลไม้ผลเดี่ยว และผลกลุ่มว่ามีอะไรบ้างโดยเขียนใส่เเผ่นชาร์ต

วันอังคาร➩หน่วยไข่

ขั้นนำ ➜ เริ่มการสอนโดยการให้เด็กต่อจิ๊กซอว์ ให้เด็กหลับแล้วครูเดินแจกจิ๊กซอว์ให้เด็ก จากนั้นให้ลืมตาเเล้วให้เด็กออกมาต่อจิ๊กซอว์ทีละคนจนจิ๊กซอว์หมด
ขั้นสอน ➜ ถามประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับไข่ที่เด็กรู้จัก นำไข่ไก่มาให้เด็กสังเกตดูลักษณะ เช่น สี ขนาด รูปทรง เป็นอย่างไร ให้เด็กได้เห็นส่วนประกอบของไข่ไก่ กลิ่นของไข่ไก่จากของจริง จากนั้นก็บันทึกลงในแผ่นชาร์ต เมื่อให้เด็กสังเกตไข่ไก่แล้ว ก็ให้เด็กสังเกตไข่เป็ดเช่นเดียวกับไข่ไก่ แล้วบันทึกลงในตารางแผ่นชาร์ต จากนั้นก็ทบทวนลักษณะของไข่เป็ดและไข่ไก่อีกครั้งโดยเขียนลง ไดอะแกรม และอธิบายทบทวนให้เด็กเข้าใจ

วันพุธ➩ หน่วยต้นไม้

 
ขั้นนำ ➜ เริ่มต้นโดยการอ่านคำคล้องจอง "ต้นไม้ที่รัก" เริ่มโดยการอ่านให้ฟังก่อน 1 รอบ จากนั้นให้อ่านตาม และอ่านพร้อมกัน ครูถามเด็กๆว่าในคำคล้องจองมีวิธีการดูเเลรักษาต้นไม้อย่างไร แล้วนอกจากในคำคล้องจองเด็กๆมีวิธีดูแลรักษาอย่างไรได้บ้าง จากนั้นเขียนลงแผ่นชาร์ต
ขั้นสอน ➜ ครูนำถุงที่มีอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมที่จะทำออกมาถามเด็ก แล้วหยิบอุปกรณ์ออกมาทีละชิ้น จากนั้นก็อธิบายกิจกรรมที่จะทำในวันนี้คือ การปลูกถั่วงอก โดยครูแนะนำอุปกรณ์อีกครั้ง และสาธิตการทำทีละขั้นตอน พร้อมกับถามไปด้วยเพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วม จากนั้นให้เด็กแบ่งกลุ่มและแจกอุปกรณ์ในการทำให้ครบทุกคน ครูให้เด็กลงมือทำ โดยครูจะให้เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของถั่วเขียว ครูจะทำการปลูกถั่วออกเป็น 3 ถ้วย คือ ถ้วยที่ 1 จะไม่รดน้ำ ถ้วยที่ 2 เอาถ้วยอีกอันมาครอบไว้แต่เจาะรูเพื่อทำการรดน้ำ และถ้วยที่ 3 ไม่ให้โดนแสง(เก็บแสงแต่ยังรดน้ำ) แล้วให้เด็กดูแลต้นถั่วงอกทุกวัน

 วันพฤหัสบดี⇨ หน่วยปลา



ขั้นนำ ➜ให้เด็กสังเกตอุปกรณ์ แล้วถามเด็กว่าวันนี้เด็กๆคิดว่าเราจะทำอะไร ครูบอกว่าจะพาเด็กๆทำคุกกิ้งปลาชุบแป้งทอด
ขั้นสอน ➜ ครูแนะนำอุปกรณ์ในการทำโดยใช้อุปกรณ์จริง ครูอ่านขั้นตอนและวัตถุดิบที่ใช้ในการทำคุกกิ้ง จากนั้นก็สาธิตวิธีการทำให้เด็กดู และให้เด็กเวียนทำกิจกรรมต่างๆโดยแบ่งออกเป็น 4 ฐาน โดยครูจะอยู่ประจำในขั้นการทอดคือขั้นสุดท้าย
   ฐานที่ 1 วาดภาพวงกลมแล้วตัดกระดาษเพื่อใช้เป็นแผ่นรองน้ำมัน
   ฐานที่ 2 หั่นปลาดอลลี่ออกเป็นสองชิ้น
   ฐานที่ 3 นำปลาดอลลี่ที่หั่นแล้วไปชุบแป้ง
   ฐานที่ 4 ทอดปลาดอลลี่ (ครูอยู่ประจำฐาน)
การทำกิจกรรมคุกกิ้ง เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สามารถใช้คำถามในการบูรณาการได้ เช่น ถามเด็กว่าเราจะทำอย่างไรถึงจะกินปลาได้ หรือตั้งสมมุติฐาน เช่น ถ้าเอาปลาลงในน้ำมันร้อนๆ จะเกิดอะไรขึ้น จากการทำกิจกรรมเด็กได้ทดลอง ได้สังเกต(ตา,ดมกลิ่น,สี) ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และยังสามารถบูรณาการการสอนโดยใช้เทคนิค STAM ได้
คำศัพท์น่ารู้
  Bean sprouts = ถั่วงอก
Plant = ปลูก
Treat = รักษา
Shell = เปลือก
Single = ผลเดี่ยว

Teaching methods (วิธีการสอน)
  -สอนโดยการให้คำแนะนำ 
  -สอนโดยการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหา
  -สอนโดยการทำกิจกรรมกลุ่ม

Skill (ทักษะที่ได้)
  -ทักษะการสังเกต
  -ทักษะการคิด วิเคราะห์ 
  -ทักษะการฟัง
  -การทำงานร่วมกับผู้อื่น

Adoption (การนำไปประยุกต์ใช้)
   -สามารถนำหน่วยต่างๆมาจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม และนำมาบูรณาการสาระการเรียนรู้ต่างๆ เช่นคณิตศาสตร์ และศิลปะเพื่อให้ได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย และยังนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดการศึกษาหาความรู้ต่อไป

Assessment (การประเมินผล)
 ประเมินตัวเอง
   ตั้งใจเรียน จดบันทึกใจเนื้อหาสำคัญ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ

  ประเมินเพื่อน  
   เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี

  ประเมินอาจารย์
   อาจารย์ให้คำแนะนำในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี อธิบาย และให้ข้อปรับปรุงในการจัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่ม ทำให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น


2 ความคิดเห็น: