วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Recording Diary 17

                                                           Recording Diary 17
                             Science Experiences Management for Early Childhood
                                                       Ms. Jintana Suksamran
                                        November 28,2016 Group 101 (Tuesday)
                                                         Time 08.30-12.30 PM.

Content (เนื้อหา)
วันอังคาร➩หน่วยอากาศ

ขั้นนำ ➜เริ่มการสอนโดยการร้องเพลง ลมพัด เริ่มจากการอ่านให้เด็กฟังก่อน จากนั้นก็ให้เด็กอ่านตาม แล้วร้องให้ฟังทีละถ่อน ให้เด็กร้องตาม จากนั้นร้องพร้อมกัน
ขั้นสอน ➜สอนโดยกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มจากการตั้งประเด็นปัญหา/สิ่งที่ต้องการทราบ ตั้งสมมุติฐานให้เด็กได้คิดคะเน นำมาสู่การทดลอง/ลงมือปฏิบัติซึ่งเป็นส่วนสำคัญของกิจกรรมนี้ ในการทดลองมีทั้งหมด 3 การทดลองคือ อากาศมีแรงดัน อากาศมีตัวตน อากาศต้องการที่อยู่ และอากาศมีน้ำหนัก เมื่อทำการทดลองเสร็จแล้วครูก็จะสรุปผลการทดลอง และจดบันทึกลงในแผ่นชาร์ต


วันพุธ⇨หน่วยยานพาหนะ



ขั้นนำ ➜ ให้เด็กดูวิดิโอจากสถานการณ์ใดสถานการณ์ แล้วถามว่าในสถานการณ์นั้นเขาทำอะไรอยู่ เกิดขึ้นที่ไหน เกิดขึ้นอย่างไร เช่น เด็กๆบอกคุณครูได้รึไม่ว่านอกเหนือจากน้ำมันและก๊าซแล้ว เรามีอะไรที่จะทำให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ได้ หรือการขึ้นรถไฟ BTS เขาใช้พลังงานอะไรอธิบาย เมื่อเด็กตอบแล้ว ครูก็ยกตัวอย่างพลังงานเพิ่มเติม เช่น พลังงานแสงอาทิตย์
ขั้นสอน ➜ ครูให้เด็กออกมาหยิบภาพยานพาหนะ แล้วนำมาเเปะบนกระดาษชาร์ตว่ายานพาหนะใช้พลังงานงานใดในการเคลื่อนที่ และสรุปกิจกรรมโดยการจดบันทึกลงในแผ่นชาร์ต

วันศุกร์⇨หน่วยดอกไม้


ขั้นนำ ➜เล่านิทานเกี่ยวกับดอกไม้ ถามเด็กๆว่าในนิทานเรื่องนี้มีใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
ขันสอน ➜ สอนเกี่ยวกับการถนอมอาหาร โดยอธิบายเกี่ยวกับการแปรรูป จากนั้นก็นำตระกร้าที่ใส่ดอกไม้ต่างๆ แล้วหยิบออกมาและถามเด็กๆว่าเป็นดอกอะไร จากนั้นก็ให้เด็กทำการเเปรรูปดอกไม้ โดยทำเป็นสีผสมอาหารจากดอกไม้ โดยแนะนำอุปกรณ์ และสาธิตวิธีการทำ จากนั้นก็แจกอุปกรณ์ให้เด็ก ให้เด็กๆคั้นดอกไม้ด้วยตนเอง และสังเกตสีของดอกไม้ว่าเป็นสีอะไร จากนั้นก็จดบันทึกลงในแผ่นชาร์ต

คำศัพท์น่ารู้
  Pollution = มลพิษ
Mobile = เคลื่อนที่
Electric train = รถไฟฟ้า
transform = แปรรูป
Technique = เทคนิค

Teaching methods (วิธีการสอน)
  -สอนโดยการให้คำแนะนำ
  -สอนโดยการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหา
  -สอนโดยการทำกิจกรรมกลุ่ม
  -สอนโดยการสอดเเทรกคุณธรรม

Skill (ทักษะที่ได้)
  -ทักษะการคิด วิเคราะห์ 
  -ทักษะฟัง
  -การสังเกต
  -การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
  -การจำแนก

Adoption (การนำไปประยุกต์ใช้)
   -สามารถนำมาจัดประสบการณ์การสอนวิทยาศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังต่อยอดเป็นความรู้ต่อการศึกษาในอนาคต

Assessment (การประเมินผล)
 ประเมินตัวเอง
   เข้าใจตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน จดบันทึกใจเนื้อหาสำคัญ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน

  ประเมินเพื่อน  
   เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยเสียงดัง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี

  ประเมินอาจารย์
   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นกันเอง ให้คำแนะนำในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี 

Recording Diary 16


                                                             Recording Diary 16
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana Suksamran
November 22,2016 Group 101 (Tuesday)
Time 08.30-12.30 PM.


Content (เนื้อหา)
   อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบบูรณาการ STAM


และให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มตามการทำคลิปวิดิโอที่ให้เเต่ละกลุ่มทำลง Youtube แล้วให้ช่วยกันระดมความคิดเกี่ยวกับของเล่นที่เลือกทำ กลุ่มของฉันทำ รถพลังงานลม ในการสอนตามหลักการคิดเเบบ STAM มีดังนี้
1. ให้เด็กสังเกตอุปกรณ์ ว่ามีอะไรบ้าง ทำอะไรได้บ้าง
2.ตั้งประเด็นปัญหา (ถ้าเราไม่สตางค์ เราจะเอาพลังงานจากไหน มาสร้างเป็นพลังงานได้บ้าง)
3.เปิดหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตเปิด Youtube รถพลังงานลม ให้เด็กดู
- แนะนำอุปกรณ์ (ทบทวนอุปกรณ์ในการทำ)
- ทบทวนขั้นตอนในการทำ
- สาธิตการทำ
- แจกอุปกรณ์ (ให้ตัวแทนออกมารับอุปกรณ์/แจกอุปกรณ์เป็นรายบุคคล)
- ให้เด็กลงมือทำ
4. ครูตั้งสมมติฐานการเล่นจากสิ่งที่ประดิษฐ์
- เด็ก ๆ คิดว่าถ้าทำจะเกิดอะไรขึ้น
- ให้เด็กทดลองเล่นของเล่นตนเอง อาจมีการตั้งเกณฑ์ในการเล่นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ใครไปไกลกว่าแสดงว่ามีประสิทธิภาพ
5. สรุปหลักการทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งที่ประดิษฐ์







คำศัพท์น่ารู้
  Resource = ทรัพยากร
Demonstration = สาธิต
Basket = ตะกร้า
Share = แบ่ง
The criteria set = เกณฑ์กำหนด

Teaching methods (วิธีการสอน)
  -สอนโดยการอธิบาย
  -สอนโดยการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหา
  -สอนโดยการสอดเเทรกคุณธรรม

Skill (ทักษะที่ได้)
  -ทักษะการคิด วิเคราะห์ 
  -ทักษะประยุกต์ใช้
  -การทำงานร่วมกับผู้อื่น

Adoption (การนำไปประยุกต์ใช้)
   -สามารถนำมาเป็นความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ในการสอน และต่อยอดการศึกษาในอนาคต

Assessment (การประเมินผล)
 ประเมินตัวเอง
   แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน จดบันทึกใจเนื้อหาสำคัญ มีส่วนร่วมมือในการตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็น

  ประเมินเพื่อน  
   เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยเสียงดัง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี

  ประเมินอาจารย์
   อาจารย์ใจดี เป็นกันเอง ให้คำแนะนำในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี มีการยกตัวอย่างประกอบการสอน ทำให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น

Recording Diary 15

Recording Diary 15
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana Suksamran
November 15,2016 Group 101 (Tuesday)
Time 08.30-12.30 PM.

Content (เนื้อหา)
   อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนแผนการสอน หลังจากนั้นก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาจัดประสบการณ์ในแต่ละหน่วยของตนเองหน้าชั้นเรียน โดยเริ่มตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์


วันจันทร์⇨หน่วยผลไม้

ขั้นนำ ➜ สอนโดยการอ่านคำคล้องจองผลไม้หรรษา เริ่มโดยการอ่านให้ฟังก่อน 1 รอบ จากนั้นให้อ่านตาม และอ่านพร้อมกัน ครูถามเด็กๆว่าในคำคล้องจองมีผลไม้อะไรบ้าง แล้วเขียนลงแผ่นชาร์ต
ขั้นสอน ➜นำตระกร้าผลไม้ที่มีผ้าคลุมไว้ออกมา แล้วถามเด็กๆคิดว่าในตระกร้านี้มีอะไรอยู่ในนี้น้า จากนั้นก็ค่อยหยิบผลไม้ออกมาทีละ 1 ชิ้น วางเรียงไว้ข้างหน้าจากซ้ายไปขวาจนครบ เมื่อครบเเล้วให้เด็กนับผลไม้ที่วางเรียงอยู่ว่ามีกี่ชิ้น จากนั้นครูหยิบผลไม้ขึ้นมาหนึ่งชิ้นและถามเด็กๆว่า "เด็กลองสังเกตผลไม้ซิว่ามันมีลักษณะอย่างไรเป็นอย่างไร"ครูอธิบายลักษณะของผลไม้ที่เป็นผลไม้เดี่ยวและผลกลุ่ม "ผลไม้ผลเดี่ยวมีด้านใดด้านหนึ่ง แล้วส่วนที่เหลือเป็นผลกลุ่ม"จากนั้นนับว่ากลุ่มไหนมีจำนวนมากกว่ากันโดยการหยิบเเบบ 1 ต่อ 1 ครูสรุปประเภทของผลไม้ผลเดี่ยว และผลกลุ่มว่ามีอะไรบ้างโดยเขียนใส่เเผ่นชาร์ต

วันอังคาร➩หน่วยไข่

ขั้นนำ ➜ เริ่มการสอนโดยการให้เด็กต่อจิ๊กซอว์ ให้เด็กหลับแล้วครูเดินแจกจิ๊กซอว์ให้เด็ก จากนั้นให้ลืมตาเเล้วให้เด็กออกมาต่อจิ๊กซอว์ทีละคนจนจิ๊กซอว์หมด
ขั้นสอน ➜ ถามประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับไข่ที่เด็กรู้จัก นำไข่ไก่มาให้เด็กสังเกตดูลักษณะ เช่น สี ขนาด รูปทรง เป็นอย่างไร ให้เด็กได้เห็นส่วนประกอบของไข่ไก่ กลิ่นของไข่ไก่จากของจริง จากนั้นก็บันทึกลงในแผ่นชาร์ต เมื่อให้เด็กสังเกตไข่ไก่แล้ว ก็ให้เด็กสังเกตไข่เป็ดเช่นเดียวกับไข่ไก่ แล้วบันทึกลงในตารางแผ่นชาร์ต จากนั้นก็ทบทวนลักษณะของไข่เป็ดและไข่ไก่อีกครั้งโดยเขียนลง ไดอะแกรม และอธิบายทบทวนให้เด็กเข้าใจ

วันพุธ➩ หน่วยต้นไม้

 
ขั้นนำ ➜ เริ่มต้นโดยการอ่านคำคล้องจอง "ต้นไม้ที่รัก" เริ่มโดยการอ่านให้ฟังก่อน 1 รอบ จากนั้นให้อ่านตาม และอ่านพร้อมกัน ครูถามเด็กๆว่าในคำคล้องจองมีวิธีการดูเเลรักษาต้นไม้อย่างไร แล้วนอกจากในคำคล้องจองเด็กๆมีวิธีดูแลรักษาอย่างไรได้บ้าง จากนั้นเขียนลงแผ่นชาร์ต
ขั้นสอน ➜ ครูนำถุงที่มีอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมที่จะทำออกมาถามเด็ก แล้วหยิบอุปกรณ์ออกมาทีละชิ้น จากนั้นก็อธิบายกิจกรรมที่จะทำในวันนี้คือ การปลูกถั่วงอก โดยครูแนะนำอุปกรณ์อีกครั้ง และสาธิตการทำทีละขั้นตอน พร้อมกับถามไปด้วยเพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วม จากนั้นให้เด็กแบ่งกลุ่มและแจกอุปกรณ์ในการทำให้ครบทุกคน ครูให้เด็กลงมือทำ โดยครูจะให้เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของถั่วเขียว ครูจะทำการปลูกถั่วออกเป็น 3 ถ้วย คือ ถ้วยที่ 1 จะไม่รดน้ำ ถ้วยที่ 2 เอาถ้วยอีกอันมาครอบไว้แต่เจาะรูเพื่อทำการรดน้ำ และถ้วยที่ 3 ไม่ให้โดนแสง(เก็บแสงแต่ยังรดน้ำ) แล้วให้เด็กดูแลต้นถั่วงอกทุกวัน

 วันพฤหัสบดี⇨ หน่วยปลา



ขั้นนำ ➜ให้เด็กสังเกตอุปกรณ์ แล้วถามเด็กว่าวันนี้เด็กๆคิดว่าเราจะทำอะไร ครูบอกว่าจะพาเด็กๆทำคุกกิ้งปลาชุบแป้งทอด
ขั้นสอน ➜ ครูแนะนำอุปกรณ์ในการทำโดยใช้อุปกรณ์จริง ครูอ่านขั้นตอนและวัตถุดิบที่ใช้ในการทำคุกกิ้ง จากนั้นก็สาธิตวิธีการทำให้เด็กดู และให้เด็กเวียนทำกิจกรรมต่างๆโดยแบ่งออกเป็น 4 ฐาน โดยครูจะอยู่ประจำในขั้นการทอดคือขั้นสุดท้าย
   ฐานที่ 1 วาดภาพวงกลมแล้วตัดกระดาษเพื่อใช้เป็นแผ่นรองน้ำมัน
   ฐานที่ 2 หั่นปลาดอลลี่ออกเป็นสองชิ้น
   ฐานที่ 3 นำปลาดอลลี่ที่หั่นแล้วไปชุบแป้ง
   ฐานที่ 4 ทอดปลาดอลลี่ (ครูอยู่ประจำฐาน)
การทำกิจกรรมคุกกิ้ง เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สามารถใช้คำถามในการบูรณาการได้ เช่น ถามเด็กว่าเราจะทำอย่างไรถึงจะกินปลาได้ หรือตั้งสมมุติฐาน เช่น ถ้าเอาปลาลงในน้ำมันร้อนๆ จะเกิดอะไรขึ้น จากการทำกิจกรรมเด็กได้ทดลอง ได้สังเกต(ตา,ดมกลิ่น,สี) ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และยังสามารถบูรณาการการสอนโดยใช้เทคนิค STAM ได้
คำศัพท์น่ารู้
  Bean sprouts = ถั่วงอก
Plant = ปลูก
Treat = รักษา
Shell = เปลือก
Single = ผลเดี่ยว

Teaching methods (วิธีการสอน)
  -สอนโดยการให้คำแนะนำ 
  -สอนโดยการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหา
  -สอนโดยการทำกิจกรรมกลุ่ม

Skill (ทักษะที่ได้)
  -ทักษะการสังเกต
  -ทักษะการคิด วิเคราะห์ 
  -ทักษะการฟัง
  -การทำงานร่วมกับผู้อื่น

Adoption (การนำไปประยุกต์ใช้)
   -สามารถนำหน่วยต่างๆมาจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม และนำมาบูรณาการสาระการเรียนรู้ต่างๆ เช่นคณิตศาสตร์ และศิลปะเพื่อให้ได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย และยังนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดการศึกษาหาความรู้ต่อไป

Assessment (การประเมินผล)
 ประเมินตัวเอง
   ตั้งใจเรียน จดบันทึกใจเนื้อหาสำคัญ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ

  ประเมินเพื่อน  
   เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี

  ประเมินอาจารย์
   อาจารย์ให้คำแนะนำในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี อธิบาย และให้ข้อปรับปรุงในการจัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่ม ทำให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น


วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Recording Diary 14


                                                         Recording Diary 14
                             Science Experiences Management for Early Childhood
                                                      Ms. Jintana Suksamran
                                        November 8,2016 Group 101 (Tuesday)
                                                       Time 08.30-12.30 PM.

Content (เนื้อหา)
   อาจารย์ให้ให้นักศึกษานำคลิปวิดิโอที่ไปแก้ไขจากสัปดาห์ที่แล้ว มาเปิดให้ดูอีกครั้ง

ขวดน้ำนักขนของ

คานดีดไม้ไอติม
                                      

รถพลังงานลม
---------------------------------------------------------------

   จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มหน่วยการสอนของตนเอง แล้วให้ช่วยกันคิดเกี่ยวกับการจัดการสอนทั้ง 5 วัน หลังจากนั้นอาจารย์ก็จะถามทีละคน เพื่อให้คำแนะนำและการนำไปปรับปรุงแก้ไข
                                        หน่วยการสอนของแต่ละกลุ่มมีดังนี้
                                              กลุ่มที่ 1 หน่วยต้นไม้
                                              กลุ่มที่ 2 หน่วยไข่
                                              กลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้
                                              กลุ่มที่ 4 หน่วยดอกไม้
                                              กลุ่มที่ 5 หน่วยปลา
                                              กลุ่มที่ 6 หน่วยยานพาหนะ
                                              กลุ่มที่ 7 หน่วยอากาศ (กลุ่มของฉัน)
                                      
** การสอนของแต่ละวันของหน่วยอากาศ
  🔺วันจันทร์ (ประเภท) ⇒ สอนโดยใช้เพลง
  🔺วันอังคาร (คุณสมบัติ) ⇒ สอนโดยการทดลอง
  🔺วันพุธ (ปัจจัยที่ทำให้เกิดฤดูกาล) ⇒ สอนโดยการใช้เพลง
  🔺วันพฤหัสบดี (ประโยชน์) ⇒ สอนโดยการเล่านิทานประกอบ
  🔺วันศุกร์ (ผลกระทบ/โทษ) ⇒ สอนโดยการใช้บัตรภาพและเล่านิทาน
   
   อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มจับฉลากเพื่อเลือกว่าหน่วยไหนจะสอนวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี หรือวันศุกร์ ที่จะใช้สำหรับการสอนในสัปดาห์หน้า โดยอาจารย์ให้หน่วยยานพาหนะและหน่วยอากาศเลือกหรือตกลงกันเองภายในกลุ่มว่าจะสอนวันไหน เพราะต่างจากหน่วยอื่นๆ จากนั้นอาจารย์ก็แจกตารางแผนการสอนให้นักศึกษาเขียนแผนการสอนของตนเองและส่งอาจารย์

                                   ➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽

คำศัพท์น่ารู้
  Tale = นิทาน
Manage = จัดการ
Toxic fumes = ควันพิษ
Danger = อันตราย
Update = ปรับปรุง

Teaching methods (วิธีการสอน)
  -สอนโดยการให้คำแนะนำ 
  -สอนโดยการบรรยาย  
  -สอนโดยการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหา
  -สอนโดยการทำกิจกรรมกลุ่ม

Skill (ทักษะที่ได้)
  -ทักษะการคิด วิเคราะห์ 
  -ทักษะการบูรณาการ การประยุกต์ใช้
  -การแสดงความคิดเห็น 
  -การคิดเชื่อมโยง
  -การเขียนแผน การใช้ภาษา

Adoption (การนำไปประยุกต์ใช้)
   -สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการเขียนแผนการสอน จัดประสบการณ์ผ่านการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสมกับเด็ก และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยต่างๆ
   -สามารถนำแผนการสอนต่างๆมาปรับปรุงเพิ่มเติม เชื่อมโยงการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างหลากหลาย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
   -สามารถนำมาเป็นความรู้สำหรับการเรียนหรือศึกษาต่อในอนาคตได้

Assessment (การประเมินผล)
 ประเมินตัวเอง
   ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย จดบันทึกใจเนื้อหาสำคัญ ปรึกษากับเพื่อนในกลุ่ม ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ

  ประเมินเพื่อน  
   เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี และมีการปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม

  ประเมินอาจารย์
   อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาดี มีอุปกรณ์พร้อมสอน ยกตัวอย่าง ให้คำแนะนำในการเขียนแผนเป็นอย่างดี ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น



วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Recording Diary 13

Recording Diary 13
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana Suksamran
November 1,2016 Group 101 (Tuesday)
Time 08.30-12.30 PM.

Content (เนื้อหา)
   อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาเปิดคลิปวิดิโอขั้นตอนการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ และให้ข้อแนะนำและข้อเสนอแนะแต่ละกลุ่ม 
หลอดมหัศจรรย์



รถพลังงานลม


 คานดีดไม้ไอติม

ขวดน้ำนักขนของ


   ในการทำคลิปวิดิโอของเล่นวิทยาศาสตร์ ควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1.มีตัวหนังสือบอกขั้นตอนในการทำ เพื่อทำให้ภาษาชัดเจนมากยิ่งขึ้น
2.มีชื่อคณะผู้จัดทำ มหาวิทยาลัย คณะ สาขาที่เรียน
3.ถ่ายให้เห็นผู้ประดิษฐ์
4.มีสรุปท้ายขั้นตอน มีตัวหนังสือขั้นตอนการทำทั้งหมดโดยไม่มีรูปภาพ
5.มีการทดลองการเล่น ซึ่งเป็นกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์
6.แต่งกายสุภาพ หรือชุดนักศึกษาเพื่อบ่งบอกถึงสถานศึกษา
7.ในตอนท้ายของวิดิโอ ควรมีการบอกหน้าที่ในการทำ ว่าใครทำหน้าที่ใดบ้าง เช่น การตัดต่อ อัดเสียง ถ่ายภาพ เป็นต้น
********************************************
   อาจารย์อธิบาย การจัดประสบการณ์ ซึ่งจะต้องคำนึงถึง
พัฒนาการ 4 ด้าน ดังนี้
1.ด้านร่างกาย 
   ขอบข่ายของด้านร่างกายคือ การเคลื่อนไหว ซึ่งมีการทำงานเกิดขึ้นมาจาก ความสัมพันธ์ระหว่างประสาทกับอวัยวะ ประกอบด้วย
      -ความสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อกับอวัยวะ
      -สุขภาพอนามัย จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
      -การเจริญเติบโต ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อหรืออวัยวะต่างๆ ตัวที่จะทำให้เกิดการเจริญเติบโต คือ ส่วนสูง น้ำหนัก
2.ด้านอารมณ์-จิตใจ
    โครงข่ายคือ การแสดงออกถึงความนึกคิดที่เป็นอยู่ หรือการรับรู้ความรู้สึกคนอื่น 
      -การแสดงความรู้สึก เช่น หน้าบึ้ง การยิ้ม
      -การรับรู้ความรู้สึกของคนอื่น
3.ด้านสังคม
     โครงข่ายคือ การมีปฎิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นและช่วยเหลือตนเอง ดูแลตนเองได้
4.ด้านสติปัญญา
    กรอบหรือโครงข่ายคือ การคิดและภาษา
       -การคิด มี 2 แบบ คือ การคิดเชิงเหตุผล เป็นการแก้ไขปัญหา และการคิดสร้างสรรค์เป็นตัวย่อยของการคิด
       -ภาษา (เรารู้ว่าทำอะไรอยู่ แล้วสามารถสื่อสารออกมาเป็นภาษาได้ ซึ่งเป็นการทำงานของสมอง)

   อาจารย์ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มที่แบ่งจากสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อระดมความคิดในการจัดทำแผนการสอนตามหน่วยของตัวเอง
  โดยให้จัดแผนการสอนมาบูรณาการกับทั้ง 6 สาระ ดังนี้
1.คณิตศาสตร์
    มาตรฐาน: จำนวนและการดำเนินการ การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 
    ทักษะ: การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การเชื่อมโยง และการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
2.วิทยาศาสตร์
   มาตรฐานสาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต                                                                                     สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
                  สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
                                          สาระที่ 4  แรงและการเคลื่อนที่
                                          สาระที่ 5 พลังงาน
                                          สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
                                          สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
                                          สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                            ทักษะ: สำรวจ สังเกต จำแนก
                            กระบวนการ:   ตั้งประเด็นปัญหา
                                                        ⇣
                                                 ตั้งสมมุติฐาน
                                                        ⇣
                                             ทดลอง(เก็บข้อมูล)
                                                        ⇣
                                            สรุปและอภิปรายผล
                         3.ภาษา
                               -การฟัง
                               -การพูด
                               -การอ่าน
                               -การเขียน
                         4.ศิลปะ
                               -วาดภาพ/ระบายสี
                               -ฉีก/ตัด/ปะ
                               -ปั้น
                               -ประดิษฐ์
                               -เล่นกับสี
                               -พิมพ์
                          5.สังคม
                              -การมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น
                              -การช่วยเหลือตนเอง
                              -การมีมารยาทในสังคม
                          6.สุขศึกษา/พลศึกษา
                             -การเจริญเติบโต
                             -ชีวิตและครอบครัว 
                             -การเคลื่อนไหว 
                             -การเสริมสร้างสุขภาพ 
                             -ความปลอดภัยในชีวิต


   จากนัันอาจารย์ก็ให้ช่วยกันระดมความคิดการออกแบบกิจกรรม 6 กิจกรรมหลัก ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยของแต่ละวัน ประกอบด้วยดังนี้


⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁⇀⇁
คำศัพท์น่ารู้
  Independent =อิสระ
Inventive = สร้างสรรค์
Steam = ไอน้ำ
Reason = เหตุผล
Probability = ความน่าจะเป็น

Teaching methods (วิธีการสอน)
  -สอนโดยการให้คำแนะนำ 
  -สอนโดยการบรรยาย 
  -การสอนโดยอธิบาย 
  -สอนโดยการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหา
  -สอนโดยการตั้งคำถาม

Skill (ทักษะที่ได้)
  -ทักษะการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์
  -ทักษะการบูรณาการ การประยุกต์ใช้
  -การแสดงความคิดเห็น ทำงานเป็นทีม
  -การคิดเชื่อมโยง

Adoption (การนำไปประยุกต์ใช้)
   -สามารถนำความรู้ที่ได้จากการนำเสนอของเล่นเพื่อนมาประยุกต์ใช้และปรับเปลี่ยนให้เกิดความแปลกใหม่และนำมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนได้มากยิ่งขึ้น
   -สามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับทักษะพื้นฐาน กระบวนการ และมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเข้าใจ และนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับเด็กได้
   -สามารถออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับ 6 กลุ่มสาระ เพื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย

Assessment (การประเมินผล)
 ประเมินตัวเอง
    ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย จดบันทึกใจความสำคัญของเนื้อหา วิเคราะห์แสดงความคิดเห็นให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

  ประเมินเพื่อน  
   เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี และมีการปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม

  ประเมินอาจารย์
   อาจารย์ใจดี เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นกันเอง อธิบายเนื้อหาเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างประกอบการสอน