วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

Recording Diary 7

Recording Diary 7
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana Suksamran
September 20,2016
Group 101 (Tuesday) 
Time 08.30-12.30 PM.

Content (เนื้อหา)

   ก่อนเริ่มเข้าสู่เนื้อหา อาจารย์ให้นักศึกษาคัดลายมือครั้งที่ 3 เพื่อให้เกิดความเคยชิน

คัดลายมือครั้งที่ 3

   เพื่อนๆนำเสนอของเล่นที่ทำมา โดยของเล่นเเต่ละชิ้นมีการสอนวิทยาศาสตร์แตกต่างกันไป 


ว่าว ,รถลูกโป่ง, หลอดเลี้ยงลูกบอล, แตร่เสียง, ปี่หลอดหรรษา, เครื่องดูดจอมกวน ,ไก่กระต๊าก,
ทะเลในขวด, ที่ยิงบอลไม้ไอติม, พายุโทนาโด, รถของเล่น, ร่มชูชีพ, เหวี่ยงมหาสนุก, รถแม่เหล็ก, 
ลูกข่าง,กระดานลูกแก้ว, ธนูจากไม้ไอติม, ปลาว่ายน้ำ, แว่นสามมิติ, นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ 

ตัวอย่างของเล่น
  1.รถเคลื่อนที่ด้วยลูกโป่ง ในการเคลื่่อนที่รถใช้แรงดันอากาศจากลมที่อยู่ภายในลูกโป่ง จึงทำให้รถเคลื่อนที่ได้
  2. แตรขวดน้ำ การเป่าลมทำให้อากาศไปปะทะกับลูกโป่ง ทำให้เกิดเสียงสะท้อนไปสะท้อนมาภายในขวด จึงทำให้เกิดเสียงก้อง 
  3.ปี่หลอด ใช้หลักทางวิทยาศาสตร์คือ การเดินทางของเสียงผ่านตัวกลางเมื่อทำความสั้นความยาวที่แตกต่างกัน
 4.ตุ๊กตาล้มลุก ถ่วงน้ำหนักอยู่ที่ฐาน ทำให้จุดศูนย์ถ่วงคงที่ เมื่อผลักจะทำให้วัตถุเด้งกลับมาที่เดิมทุกครั้ง
  5.ปอดขวดน้ำ ใช้หลักการดูดอากาศจากภายนอกเข้าไปภายในถุงทำให้ถุงขยายตัวออก เมื่อเป่าลมเข้าไปภายในหลอด ถุงจะเเฟ้บลง เพราะอากาศต้องการที่อยู่ 
  6.ไก่กระต๊าก เมื่อเชือกและฟองน้ำเสียดสีกัน ทำให้เชือกสั่นสะเทือน เกิดเสียงในกระบอกที่สะท้อนกลับไปกลับมา
 7.ทะเลในขวด ใช้น้ำและน้ำมัน น้ำมันมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำจึงทำให้น้ำมันลอยเหนือน้ำ เกิดการแยกชั้นระหว่างน้ำกับน้ำมัน
 8.กระโดดร่ม ใช้หลักการพยุงตัวของวัตถุที่มีพื้นที่ ทำให้วัตถุตกลงสู่พื้นได้ช้า
 9.ลูกข่าง มีการหมุนรอบตัวเอง หมุนรอบแกนกลาง
 10.กระดานลูกเเก้ว ใช้หลักการเเรงโน้มถ่วง ลูกแก้วเป็นรูปทรงกลม จึงกลิ้งไปตามพื้นที่ที่แนวราดเอียง ทำให้ตกลงพื้นช้า
 11.ภาพสามมิติ การมองภาพที่มีลักษณะวัตถุที่ต่างกัน เช่น การมองเห็นภาพนูนสูงและนูนต่ำ
12.นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ แรงดันอากาศจากการบีบขวด ซึ่งอยู่ภายในหลอดจะถูกบีบอัด และถูกแทนที่ด้วยน้ำ ทำให้หลอดมีน้ำหนักมากขึ้นหลอดจึงจมน้ำ หลังจากคลายแรงบีบขวดทำให้ความดันในขวดลดลง ความดันอากาศภายในหลอดลดลง และดันน้ำออกมาจากหลอดดังนั้นหลอดจะมีน้ำหนักลดลง และลอยตัวขึ้นมาบนผิวน้ำ

กิจกรรม
  ภาพสามมิติ 
อาจารย์แจกกระดาษ A4 ให้คนละ 1 แผ่น แล้วให้วางมือทาบลงกระดาษ จากนั้นก็ให้ใช้ปากกาเมจิสีอะไรก็ได้ 1 สี วาดเส้นตามรูปมือของตนเอง เมื่อได้รูปมือแล้ว ให้ขีดเส้นตัดรูปมือตัวเอง โดยปากกาเมจิใช้สีอื่น เมื่อเสร็จแล้วให้ใช้ปากกาเมจิสีไม่ซ้ำสองสีแรกขีดเส้นตัดรูปมือตัวเองอีกหนึ่งเส้น โดยให้เส้นขนานกัน 



  จากกิจกรรมนี้ ทำให้รู้ว่า เมื่อขีดเส้นตัดรูปมือ จะทำให้มือดูมีมิติมากยิ่งขึ้น

การทดลอง
  การทดลองน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ 

วิดิโออธิบายการทดลอง

ข้อสรุป
  น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ แรงดันจะทำให้น้ำพุ่งออกมา ยิ่งเราวางวัตถุต่ำลงเท่าไรน้ำก็จะพุ่งสูงเท่านั้น

  ระดับน้ำในสายยาง
      แม้เราจะยกกรวยฝั่งไหนขึ้น ระดับน้ำก็ยังจะเท่ากันเหมือนเดิม
ภาพตัวอย่างการทดลอง 



    การทดลองดอกไม้บาน

 อาจารย์ให้กระดาษ A4 มาคนละ 1 แผ่น 
 จากนั้นให้พับครึ่ง ให้ได้ 4 ครั้ง 
 ตัดให้ได้เป็นกลีบดอกไม้
 คลี่กระดาษออก จะได้เป็นรูปดอกไม้ ใช้สีตกแต่ง
 พับกลีบดอกไม้เข้าหาศูนย์กลางทั้ง 4 มุม
 นำดอกไม้ไปทดลอง ดอกไม้จะบานได้หรือไม่
การทดลอง


เพื่อนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอของเล่น

กลุ่มที่ 1 กล่องพิศวง บ้านผีสิง


กลุ่มที่ 2 กล้องโพรี่สโคป


กลุ่มที่ 3 กล้องสะท้อนภา



กลุ่มที่ 4 เบ็ดตกปลา

กลุ่มที่ 5 ไฟฉายหลากสีมหาสนุก

กลุ่มที่ 6 ลูกกลิ้งหกคะเมน

คำศัพท์น่ารู้
  Movement=การเคลื่อนที่
The fountain=น้ำพุ
Above= ข้างบน
Intermediary=ตัวกลาง
Object=วัตถุ

Teaching methods (วิธีการสอน)
  -การสอนโดยศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเอง
  -การสอนโดยการสังเกต
  -สอนโดยการทดลอ
  -สอนโดยการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหา
  -สอนโดยการอธิบายเพื่อให้เข้าใจ
  -การสอนโดยการใช้คำถาม

Skill (ทักษะที่ได้)
  -ทักษะในการสังเกต
  -ทักษะในการทดลองทางวิทยาศาสตร์
  -ทักษะการคิด วิเคราะห์
  -ทักษะในการใช้เทคโนโลยี อุปกรณ์ต่างๆ
  -ทักษะในการตั้งประเด็นปัญหา ตั้งข้อสังเกตุ
  -การใช้ภาษาในการสื่อสาร 
  -การคิดสร้างสรรค์

Adoption (การนำไปประยุกต์ใช้)
   -ประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์ของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ถูกต้อง และเหมาะสมตามหลักการ
   -สามารถนำกิจกรรมวาดภาพ 3 มิติ มาใช้ในการสอน เพื่อส่งเสริมประสบการณ์ และได้เรียนรู้กระบานการทางวิทยาศาสตร์
   -ความรู้ที่ได้นำไปปรับใช้ ในการออกแบบ สร้างการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้เอง หรือประยุกต์ใช้ในการดำเนินในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง 
   -ได้ความรู้ ความเข้าใจ หรือสามารถทำมาเป็นความรู้เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนในอนาคตได้

Assessment (การประเมินผล)
 ประเมินตัวเอง
   เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน เกิดความสนุกสนาน ได้ทักษะในการสังเกตจากกิจกรรมการทดลองต่างๆ ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

  ประเมินเพื่อน  
   เพื่อนๆตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยเสียงดัง ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆ นำเสนอผลงานของตัวเองได้ดี และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

  ประเมินอาจารย์
   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ ใจดี เป็นกันเองกับนักศึกษา มีการอธิบายสาระการเรียนการสอนอย่างละเอียด มีการยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

วาดรูปสร้างสรรค์

วาดรูปสร้างสรรค์

** วาดภาพเหมือน ขยับได้ **



 **ภาพวาดแบบหมุนได้ **






 เมื่อหมุนแล้วจะเกิดภาพทับซ้อนกัน


ของเล่นวิทยาศาสตร์


ของเล่นวิทยาศาสตร์

    นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ

       

   
อุปกรณ์(Equipment)
   1.หลอดกาแฟ (tube)
   2.ดินน้ำมัน (clay)
   3.ขวดน้ำ (bottle)
   4.กรรไกร (scissors)
   5.เทปกาว (tape) 
   6.ไม้บรรทัด (ruler)

ขั้นตอนในการทำ (how to)
   1.ตัดหลอดกาแฟให้ได้ขนาด 3 นิ้ว โดยใช้ไม้บรรทัด


   2.พับหลอดเข้าหากัน โดยไม่ต้องตัดแบ่งครึ่ง



   3.ติดเทปกาวให้หลอดทั้งสองข้างติดกัน


   4.ตัดหลอดส่วนปลายยาวออกเป็นสองแฉก




   5.นำดินน้ำมันมาปั้นเป็นก้อนกลม แล้วเสียบใส่ปลายหลอด


   6.นำมาทดสอบก่อนนำไปใส่ในขวด โดยการเพิ่มหรือลดดินน้ำมันให้หลอดลอยปริ่มน้ำ


   7.เอาหลอดใส่ขวดที่เติมน้ำเต็มขวดแล้ว และปิดฝาให้แน่น

                                                                                                                                               
วิธีการเล่น
   บีบขวดแล้วปล่อย เมื่อบีบขวดนักดำน้ำจะดำลงไปใต้น้ำ แต่เมื่อปล่อยมือจากขวดนักดำน้ำจะลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำ สามารถจำลองเหตุการณ์ต่างๆในการเล่นได้เพื่อความสนุกสนาน

นักดำน้ำจากหลอดกาแฟเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
   การลอยน้ำของวัตถุขึ้นอยู่กับน้ำหนักและขนาดของวัตถุ หลอดแบบงอได้จมน้ำเพราะมีน้ำหนักมากกว่าน้ำสังเกตได้จากน้ำที่ไหลเข้ามาภายในหลอดทั้งสองด้าน เนื่องจากแรงดันอากาศจากการบีบขวด ซึ่งอยู่ภายในหลอดจะถูกบีบอัด และถูกแทนที่ด้วยน้ำ ทำให้หลอดมีน้ำหนักมากขึ้นหลอดจึงจมน้ำ หลังจากคลายแรงบีบขวดทำให้ความดันในขวดลดลง ความดันอากาศภายในหลอดลดลง และดันน้ำออกมาจากหลอดดังนั้นหลอดจะมีน้ำหนักลดลง และลอยตัวขึ้นมาบนผิวน้ำ ซึ่งเรือดำน้ำก็ใช้หลักการเดียวกันคือ ลดหรือเพิ่มปริมาณของน้ำและอากาศที่อยู่ในถังอับเฉาให้เหมาะสมโดยเรือจะสูบน้ำเข้าถัง เพื่อให้เรือมีน้ำหนักมากกว่าน้ำแล้วจมลงใต้น้ำ และถ้าปล่อยน้ำออกมาน้ำหนักจะลดลง เรือจึงลอยขึ้น

การบูรณาการนักดำน้ำจากหลอดกาแฟกับการเรียนรู้แบบ STEM
   STEM คือ องค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัย องค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน
   Science (วิทยาศาสตร์) = แรงลอยตัวความกดอากาศในเรื่องความหนาแน่น
   Technology  (เทคโนโลยี) = ขั้นตอนการทำนักดำน้ำจากหลอดกาแฟ
   Engineering (วิศวะ) = รูปแบบหลอดนักดำน้ำ
   Mathematics (คณิตศาสตร์) = ความยาวในการตัดหลอด, น้ำหนักดินน้ำมัน(มาก-น้อย)

สรุปงานวิจัย

สรุปงานวิจัย

ชื่องานวิจัย
            ผลของการจัดประสบการณตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตรโรงเรียน ที่มีตอทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์ของ
            ศศิธร รณะบุตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พฤษภาคม 2551

ความมุ่งหมายของงานวิจัย
              1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจําแนก รายทักษะ กอนและหลังการจัดประสบการณตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตรโรงเรียน
              2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจําแนก รายทักษะ กอนและหลังการจัดประสบการณตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตรโรงเรียน

ความสำคัญของงานวิจัย
               เปนการเผยแพรความรูเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร โรงเรียนและเปนแนวทางในการใชวิธีการสอนและการจัดกิจกรรมใหครูและผูที่เกี่ยวของกับเด็ก ปฐมวัยนําไปพัฒนาทักษะดาน อื่น ๆ ใหแกเด็ก เพื่อสงเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัย ตอไป

ของเขตของการวิจัย
               ประชากรที่ใชในการวิจัย 
   ประชากรที่ใชในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชาย–หญิง ที่มีอายุ 5–6 ปซึ่งกําลังศึกษาอยูชั้น อนุบาลศึกษาปที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จํานวน 30 คน 
              กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัย 
    กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัย คือ นักเรียนชาย–หญิง ที่มีอายุ 5–6 ปซึ่งกําลังศึกษาอยูชั้น อนุบาลศึกษาปที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 1 หองเรียน โดยวิธีการสุมอยางงาย (Simple Random Sampling) โดยการจับสลากนักเรียนชั้น อนุบาลปที่ 3 จํานวน 30 คน 
             ตัวแปรที่ศึกษา
    1. ตัวแปรตน คือ การจัดประสบการณตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตรโรงเรียน  
    2. ตัวแปรตาม ไดแก ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร 5 ทักษะ ประกอบดวย 
          2.1 การสังเกต 
          2.2 การวัด 
          2.3 การจําแนกประเภท 
          2.4 การลงความเห็น 
          2.5 การพยากรณ

วิธีการดำเนินการทดลอง
     การปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรูตามขั้นตอนดังนี้ 
     1. ขั้นนํา คือ การเตรียมเด็กใหพรอมโดยใชกิจกรรมตาง ๆ เชน การสนทนา การเลา นิทาน เลนเกมการรองเพลง การทองคําคลองจอง ปริศนาคําทาย เพื่อนําเขาสูบทเรียนพรอมทั้ง บอกจุดมุงหมายในการเรียน และกําหนดปญหา โดยครูกับเด็กตั้งประเด็นปญหาจากสิ่งตาง ๆ ที่อยู แวดลอม การตั้งขอสงสัยเกี่ยวกับปรากฏการณตามธรรมชาติความประหลาดมหัศจรรยของสิ่งเรา ดวยความอยากรูอยากเห็น มีการตั้งคําถามเพื่อเราใหเด็กพยายามหาคําตอบ 
    2. ขั้นดําเนินกิจกรรม คือ การที่ครูดําเนินกิจกรรมโดยใชการจัดกิจกรรมที่เนนการ กระทํา เรียนรูดวยการคนพบและการสํารวจการปฏิบัติการทดลองและการใหเด็กลงมือปฏิบัติดวย ตนเองทั้งในรูปแบบรายบุคคลและกิจกรรมกลุม เพื่อใหเด็กสามารถเกิดการเรียนรูไดอยางสูงสุด และ บูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรที่ประกอบดวย - การตั้งสมมุติฐาน เปนขั้นของการวางแผนรวมกันในการทดลองหาคําตอบจาก การคาดคะเนหรือการพยากรณคําตอบที่อาจเปนจริงได - การเก็บรวบรวมขอมูลเพื่อการตรวจสอบสมมุติฐาน เปนขั้นที่ครูกับเด็กรวมกัน ดําเนินการดามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไวโดยเนนทักษะกระบวนการดานการสังเกต การ จําแนกประเภท การทดลองมาใชดวย การใหเด็กไดใชประสาทสัมผัสเขาไปมีสวนในการรับรูจากการ สื่อของจริง - การวิเคราะหขอมูล ครูและเด็กนําผลการทดลองมาสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นรวมกัน โดยเก็บขอมูลที่ไดสัมผัสจากสื่อของจริง แลวนํามาวิเคราะหวาทําไมจึงเกิด ปรากฏการณเชนนั้นขึ้น 
    3. ขั้นสรุป คือ การอภิปราย และลงขอสรุป เด็กและครูรวมกันอภิปรายถึง ปรากฏการณที่เกิดขึ้นเพื่อจะไดลงขอสรุปวาวาผลที่เกิดขึ้นคืออะไร เพราะอะไร ทําไม ปรากฏการณ ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจาดสิ่งแวดลอมแลวผลที่เกิดตามมาเปนอยางไร โดยเด็กและครูรวมกันสรุปการ อภิปรายเรื่องที่เรียนดวยกิจกรรมอยางใดอยางหนึ่ง เชน การสาธิต การสนทนาซักถาม การตอบ คําถาม หรือ เสนอผลงานตามลักษณะของเนื้อหา

สรุปบทความวิทยาศาสตร์

สรุปบทความวิทยาศาสตร์
เรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก “เป็ด” และ “ไก่”


     ครูปฐมวัยสอนนักเรียนอนุบาลเรียนรู้วิทย์จาก “เป็ด” และ “ไก่” เริ่มจากเล่านิทานก่อน แล้วเอาลูกเจี๊ยบกับลูกเป็ดมาให้สังเกตลักษณะกันใกล้ๆ พร้อมตั้งคำถามเชิงวิทยาสาสตร์ให้สืบค้น และพาทัวร์ฟาร์มเป็ด-ไก่ของ อบต.
       ครูลำพรรณี มืดขุนทด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และ ครูไพรวัลย์ ภิญโญทรัพย์ ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านหนองผือจำเริญพัฒนา อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ได้ใช้นิทานปลูกฝังให้เด็กๆ รักการอ่าน และแก้ไขพฤติกรรมต่างๆ เช่น ทิ้งขยะไม่ถูกที่ งอแง ขาดระเบียบวินัย กินขนมลูกอมใส่สี เป็นต้น
       นักเรียนชั้นอนุบาล 1 และอนุบาล 2 ที่ครูทั้งสองสอนอยู่นั้นมีเด็กๆ ที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และเด็กยากจนด้อยโอกาสจึงได้รับไข่จาก อบต.นาเพียง วันละ 2 ฟองต่อคน ต่อเนื่องกันนาน 3 เดือน เพื่อเพิ่มน้ำหนักตัว ฟาร์มเลี้ยงไก่และเป็ดของ อบต.นาเพียง นั้นอยู่อยู่ใกล้โรงเรียนนิดเดียว เดินข้ามรั้วโรงเรียนไปก็ถึง คุณครูจึงได้การจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางของ สสวท.ผ่านนิทานเรื่อง “หนูไก่คนเก่ง” ซึ่งสอนให้เด็กๆ ได้รู้จักการช่วยเหลือตัวเอง อาบน้ำแต่งตัวเองได้ ทำงานส่งครูได้ทันเวลา
       การเรียนรู้จากนิทานเรื่องนี้มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนนำเด็กร้องเพลงไก่ พร้อมทั้งทำท่าทางประกอบเพลงอย่างอิสระ ฟังนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่ง สนทนาและตั้งคำถามในการสืบค้นเกี่ยวกับสัตว์ในนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่งที่เด็กชื่นชม คือ ไก่และเป็ด ขั้นตอนต่อมาชวนเด็กตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ในการสืบค้น เช่น “อยากรู้จังไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้างคะ?”, รู้ได้อย่างไรและบอกรายละเอียดมาให้มากที่สุด เป็นต้น สำรวจตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไก่และเป็ด โดยนำลูกไก่และลูกเป็ดมาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด อาหารของลูกไก่และลูกเป็ดด้วยตาเปล่ากับแว่นขยาย และต้องบอกรายละเอียดให้มากที่สุด
       ขั้นสุดท้าย คือ หลังจากให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันนำเสนอผลงานผ่านภาพวาด และบันทึกคำพูดเด็กจากการสังเกต และเปรียบเทียบรูปร่างลักษณะและขนาดของไก่ และเป็ดอย่างอิสระ แล้วให้เด็กนำเสนอผลงานจากการสังเกตรูปร่างลักษณะของไก่และเป็ดผ่านภาพวาดบนกระดาน เด็กได้รู้ว่าไก่และเป็ดมีรูปร่างลักษณะต่างกัน โดยค้นพบคำตอบด้วยตนเองจากการสังเกตและเปรียบเทียบ
       **กิจกรรมนี้เด็กได้แสดงความรู้สึกด้วยคำพูด เล่าประสบการณ์ของตัวเองให้ผู้อื่นฟัง สำรวจและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างของไก่และเป็ด การเปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของไก่และเป็ด จุดเด่นของกิจกรรมนี้ คือ ผู้ปกครองหรือชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ผลที่เกิดกับเด็ก คือ เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสหลายๆ ด้าน ได้รับประสบการณ์ตรง ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ชื่นชมผลงานของผู้อื่น มีความรักและเมตตาต่อไก่และเป็ด ได้เรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อน รอคอย แบ่งปัน มีน้ำใจต่อกัน


       

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

Recording Diary 6

Recording Diary 6
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana Suksamran
September 13,2016
Group 101 (Tuesday) 
Time 08.30-12.30 PM.

Content (เนื้อหา)

   ก่อนเริ่มการเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาฝึกคัดลายมือ ก-ฮ ก่อนเรียน เพื่อฝึกให้นักศึกษาเกิดความเคยชินในการเขียนพยัญชนะมากยิ่งขึ้น

คัดลายมือครั้งที่ 2 

   อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับของเล่นที่ให้นักศึกษาทำมา โดยเปิดตัวอย่างของเล่นของรุ่นพี่ให้ดู เเละแนะนำวิธีการทำ มีขั้นตอนอะไรบ้าง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างไร เรียนรู้เรื่องอะไร ควรจะสอนอย่างไร และมีการบูรณาการอะไรได้บ้าง เพื่อนักศึกษาจะสามารถนำมาเป็นแนวทางได้ ซึงประกอบด้วยดังนี้
   1.ชื่อของเล่น
   2.อุปกรณ์ที่ใช้
   3.วิธีการทำ
   4.วิธีการเล่น
   5.ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
   6.การบูรณาการ Stem กับ Steam
   

เด็กเมื่อได้ลงมือปฎิบัติ คิดจะทำแล้ว จะทำให้เด็กเกิดทักษะความคิดสร้างสรรค์ โดยมีองค์ประกอบดังนี้
ความคิดริเริ่ม--->ความคิดคล่องแคล่ว--->ความคิดยืดหยุ่น--->ความคิดละเอียดละออ--->ความคิดสร้างสรรค์
มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย
  สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
  สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
  สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร 
  สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
  สาระที่ 5 พลังงาน
  สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
  สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
  สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 



 จากนั้นอาจารย์ได้นำสื่อการสอนวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาได้ดูและอธิบายไปพร้อมๆกัน "ภาพสื่อการสะท้อนของแสง"

ภาพกระจกเกิดเงาสะท้อนกลับ กลีบดอกไม้ (กระจกสองด้าน)

ภาพกระจกเกิดเงาสะท้อนกลับ หุ่นคน (กระจกสองด้าน)

สื่อวิทยาศาสตร์





***วิดิโอเรื่อง "ความลับของเเสง"***
คำศัพท์น่ารู้
  Light = แสง
 Reflection = การสะท้อน
Standard = มาตรฐาน
Energy = พลังงาน
substance = สสาร




Recording Diary 5

Recording Diary 5
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana Suksamran
September 6,2016
Group 101 (Tuesday) 
Time 08.30-12.30 PM.

Content (เนื้อหา)

    ก่อนเริ่มการเรียนการสอนอาจารย์ให้นักศึกษาคัดลายมือก่อนเรียน


   หลังจากคัดไทยเสร็จแล้วอาจารย์ให้นักศึกษามาชมวิดิโอเรื่อง อากาศมหัศจรรย์ ที่ห้องสมุด















   สรุป " อากาศมหัศจรรย์ "
อากาศ(Air) 
   อากาศอยู่รอบตัวเราเสมอ เราสามารถรู้ว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเราได้โดยโบกมือไปมา กระแสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือของเรา ก็แสดงว่าอากาศมีจริง

   อากาศมีตัวตน - อากาศต้องการที่อยู่ - อากาศมีน้ำหนัก - อากาศสัมผัสได้

แรงดันอากาศ (Air Pressure)
น้ำหนักของอากาศมีแรงกดหรือแรงดัน อนุภาคของอากาศ เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างอิสระ และตลอดเวลาในทุกทิศทาง โดยจะเคลื่อนที่ชนกันเองและชนกับวัตถุต่าง ๆ ที่ล้อมรอบ

   นำเสนอของเล่นแต่ละคน

         

   ของเล่นของฉัน
นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ

           

   
อุปกรณ์(Equipment)
   1.หลอดกาแฟ (tube)
   2.ดินน้ำมัน (clay)
   3.ขวดน้ำ (bottle)
   4.กรรไกร (scissors)
   5.เทปกาว (tape) 
   6.ไม้บรรทัด (ruler)

ขั้นตอนในการทำ (how to)
   1.ตัดหลอดกาแฟให้ได้ขนาด 3 นิ้ว โดยใช้ไม้บรรทัด
   2.พับหลอดเข้าหากัน โดยไม่ต้องตัดแบ่งครึ่ง
   3.ติดเทปกาวให้หลอดทั้งสองข้างติดกัน
   4.ตัดหลอดส่วนปลายยาวออกเป็นสองแฉก
   5.นำดินน้ำมันมาปั้นเป็นก้อนกลม แล้วเสียบใส่ปลายหลอด
   6.นำมาทดสอบก่อนนำไปใส่ในขวด โดยการเพิ่มหรือลดดินน้ำมันให้หลอดลอยปริ่มน้ำ
   7.เอาหลอดใส่ขวดที่เติมน้ำเต็มขวดแล้ว และปิดฝาให้แน่น

วิธีการเล่น
   บีบขวดแล้วปล่อย เมื่อบีบขวดนักดำน้ำจะดำลงไปใต้น้ำ แต่เมื่อปล่อยมือจากขวดนักดำน้ำจะลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำ สามารถจำลองเหตุการณ์ต่างๆในการเล่นได้เพื่อความสนุกสนาน

นักดำน้ำจากหลอดกาแฟเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
   การลอยน้ำของวัตถุขึ้นอยู่กับน้ำหนักและขนาดของวัตถุ หลอดแบบงอได้จมน้ำเพราะมีน้ำหนักมากกว่าน้ำสังเกตได้จากน้ำที่ไหลเข้ามาภายในหลอดทั้งสองด้าน เนื่องจากแรงดันอากาศจากการบีบขวด ซึ่งอยู่ภายในหลอดจะถูกบีบอัด และถูกแทนที่ด้วยน้ำ ทำให้หลอดมีน้ำหนักมากขึ้นหลอดจึงจมน้ำ หลังจากคลายแรงบีบขวดทำให้ความดันในขวดลดลง ความดันอากาศภายในหลอดลดลง และดันน้ำออกมาจากหลอดดังนั้นหลอดจะมีน้ำหนักลดลง และลอยตัวขึ้นมาบนผิวน้ำ ซึ่งเรือดำน้ำก็ใช้หลักการเดียวกันคือ ลดหรือเพิ่มปริมาณของน้ำและอากาศที่อยู่ในถังอับเฉาให้เหมาะสมโดยเรือจะสูบน้ำเข้าถัง เพื่อให้เรือมีน้ำหนักมากกว่าน้ำแล้วจมลงใต้น้ำ และถ้าปล่อยน้ำออกมาน้ำหนักจะลดลง เรือจึงลอยขึ้น

การบูรณาการนักดำน้ำจากหลอดกาแฟกับการเรียนรู้แบบ STEM
   STEM คือ องค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัย องค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน
   Science (วิทยาศาสตร์) = แรงลอยตัว, ความกดอากาศในเรื่องความหนาแน่น
   Technology  (เทคโนโลยี) = ขั้นตอนการทำนักดำน้ำจากหลอดกาแฟ
   Engineering (วิศวะ) = รูปแบบหลอดนักดำน้ำ
   Mathematics (คณิตศาสตร์) = ความยาวในการตัดหลอด, น้ำหนักดินน้ำมัน(มาก-น้อย)

  หลังจากนำเสนอของเล่นจนครบทุคน อาจารย์ก็ให้นักศึกษาเข้าชมนิทรรศการ การแสดงผลงานที่ได้รับจากการฝึกสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 ซึ่งจัดขึ้น ณ ตึกนวัตกรรม

รวมภาพเข้าชมนิทรรศการ











คำศัพท์น่ารู้
  Air = อากาศ
  Wind = ลม
Air Pressure = แรงดันอากาศ
  Equipment = อุุุปกรณ์
  Exposition = นิทรรศการ


Teaching methods (วิธีการสอน)
  -การสอนโดยศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเอง
  -สอนโดยการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหา
  -สอนโดยการอธิบายเพื่อให้เข้าใจ
  -การสอนโดยการใช้คำถาม

Skill (ทักษะที่ได้)
  -ทักษะการคิด วิเคราะห์
  -ทักษะในการใช้เทคโนโลยี
  -ทักษะในการออกแบบ
  -การใช้ภาษาในการสื่อสาร 
  -การคิดสร้างสรรค์

Adoption (การนำไปประยุกต์ใช้)
   สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ ออกแบบ สร้างการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้เอง หรือประยุกต์ใช้ในการดำเนินในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง ได้ความรู้ ความเข้าใจ หรือสามารถทำมาเป็นความรู้เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนในอนาคตได้

Assessment (การประเมินผล)
 ประเมินตัวเอง
   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งการถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ และได้ฝึกทักษะในการคิดเกี่ยวกับของเล่นที่ทำ

  ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ และให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมนิทรรศการการแสดงผลงานที่ได้รับจากการฝึกสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 เป็นอย่างดี


  ประเมินอาจารย์   อาจารย์ติดประชุมช่วงเช้า เเต่ก็สั่งงานให้นักศึกษาทำ หลังจากเลิกประชุมเสร็จอาจารย์ก็รีบมาสอนนักศึกษา และให้นักศึกษาได้รู้จักค้นคว้าหาความรู้เองจากงานนิทรรศการการแสดงผลงานที่ได้รับจากการฝึกสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 5