วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

Recording Diary 3

Recording Diary 3
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana Suksamran
August 23,2016
Group 101 (Tuesday) 
Time 08.30-12.30 PM.

Content (เนื้อหา)

                                          เรื่อง รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย   

คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 – 5 ปี  ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.. 2546  มีดังนี้
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
· วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม
· รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
· เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
· เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
· ใช้กรรไกรมือเดียวได้
· าดและระบายสีอิสระได้







พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·  แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
· ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
· กลัวการพลัดจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง


พัฒนาการด้านสังคม
·  รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
· ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
· เล่นสมมติได้
· รู้จักรอคอย
พัฒนาการด้านร่างกาย
· กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
· รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
· เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
· เขียนรูปสีเหลี่ยมตามแบบได้
· ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
·กระฉับการเฉยไม่ชอบอยู่เฉย







พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
· แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
· เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
· ชอบท้าทายผู้ใหญ่
· ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ

พัฒนาการด้านสังคม
· แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
· เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ รอคอยตามลำดับก่อน หลัง
· แบ่งของให้คนอื่น
· เก็บขอบเล่นเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านร่างกาย
·  กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
·  รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
· เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
· เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
· ตัดกระกาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
· ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม  ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
·  ยืดตัว  คล่องแคล่ว

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
· แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
· ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
· ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้องลง


พัฒนาการด้านสังคม
· ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
· เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
· พบผู้ใหญ่  รู้จักไหว้  ทำความเคารพ
· รู้จักขอบคุณ  เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
· รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
· สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
· บอกชื่อของตนเองได้
· ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
· สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
· สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ
· ร้องเพลง ท่องคำกลอน  คำคล้องจองง่าย ๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
· รู้จักใช้คำถาม อะไร
· สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ
· อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
พัฒนาการด้านสติปัญญา
· จำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
· บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
· พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
· สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
· สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
· รู้จักใช้คำถาม ทำไม
พัฒนาการด้านสติปัญญา
· บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง  จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
· บอกชื่อ  นามสกุล  และอายุของตนเองได้
· พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
· สนทนาโต้ตอบ / เล่าเป็นเรื่องราวได้
· สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
· รู้จักใช้คำถาม ทำไม”      “อย่างไร
·เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
·นับสิ่งต่าง ๆ จำนวนมากกว่า  10  ได้



ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย อายุ 3-5 ปี



ทฤษฎีการเรียนรู้
   1.การทดลองของพาฟลอฟ


   2.การทดลองของวัตสัน




การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
       ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา  (Schemata)  เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม  และสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี  2  อย่างคือ
     1. การขยายโครงสร้าง (Assimilation)  คือ  การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือรับรู้สิ่งใหม่เข้าไปผสมผสานกับความรู้เดิม
     2. การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation)  คือการที่โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนำเอาความรู้ใหม่ที่ได้ปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

      ไวกอสกี้ กล่าวว่า เด็กจะเกิดการเรียนรู้ พัฒนาสติปัญญาและทัศนคติเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์และทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเป็นสภาวะที่เด็กต้องเผชิญกับปัญหาที่ท้าทายแต่ไม่สามารถคิดแก้ปัญหาโดยลำพัง  แต่ถ้าได้รับการช่วยเหลือแนะนำจากผู้ใหญ่หรือเพื่อนที่มีประสบการณ์มาก่อน  เด็กจะสามารถแก้ปัญหานั้นและจะเกิดการเรียนรู้ได้

       การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (ฺBruner) กล่าวว่า ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมด้วยประสบการณ์ ผู้เรียนมีบทบาทในการรับผิดชอบต่อการเรียน ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง และเนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม

หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่าง ระหว่างบุคคลและวิธีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
3. พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เมาะสม
4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
5. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก

คำศัพท์น่ารู้ 
  Knowledge = ความจำ
  Comprehend = ความเข้าใจ
  Application = การประยุกต์
  Synthesis = การสังเคราะห์
  Evaluation = การประเมินค่า

Teaching methods (วิธีการสอน)
    การศึกษาค้นคว้า สรุป รวบรวม การคิด และหาความรู้ด้วยตนเอง

Skill (ทักษะที่ได้)
  -การคิด วิเคราะห์
  -การใช้ทักษะในการเขียนสรุปข้อมูล

Adoption (การนำไปประยุกต์ใช้)
  สามารถนำมาเป็นความรู้เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนในอนาคตต่อไปได้

Assessment (การประเมินผล)

  ประเมินตัวเอง

    เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ พยายามทำความเข้าใจกับบทเรียน แล้วสรุปเนื้อหาที่เรียนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

  ประเมินเพื่อน

    เพื่อนๆตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์กันอย่างเต็มที่ 

  ประเมินอาจารย์

    อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทำ เนื่องจากอาจารย์เข้าร่วมประชุม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น