วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

Recording Diary 6

Recording Diary 6
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana Suksamran
September 13,2016
Group 101 (Tuesday) 
Time 08.30-12.30 PM.

Content (เนื้อหา)

   ก่อนเริ่มการเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาฝึกคัดลายมือ ก-ฮ ก่อนเรียน เพื่อฝึกให้นักศึกษาเกิดความเคยชินในการเขียนพยัญชนะมากยิ่งขึ้น

คัดลายมือครั้งที่ 2 

   อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับของเล่นที่ให้นักศึกษาทำมา โดยเปิดตัวอย่างของเล่นของรุ่นพี่ให้ดู เเละแนะนำวิธีการทำ มีขั้นตอนอะไรบ้าง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างไร เรียนรู้เรื่องอะไร ควรจะสอนอย่างไร และมีการบูรณาการอะไรได้บ้าง เพื่อนักศึกษาจะสามารถนำมาเป็นแนวทางได้ ซึงประกอบด้วยดังนี้
   1.ชื่อของเล่น
   2.อุปกรณ์ที่ใช้
   3.วิธีการทำ
   4.วิธีการเล่น
   5.ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
   6.การบูรณาการ Stem กับ Steam
   

เด็กเมื่อได้ลงมือปฎิบัติ คิดจะทำแล้ว จะทำให้เด็กเกิดทักษะความคิดสร้างสรรค์ โดยมีองค์ประกอบดังนี้
ความคิดริเริ่ม--->ความคิดคล่องแคล่ว--->ความคิดยืดหยุ่น--->ความคิดละเอียดละออ--->ความคิดสร้างสรรค์
มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย
  สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
  สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
  สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร 
  สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
  สาระที่ 5 พลังงาน
  สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
  สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
  สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 



 จากนั้นอาจารย์ได้นำสื่อการสอนวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาได้ดูและอธิบายไปพร้อมๆกัน "ภาพสื่อการสะท้อนของแสง"

ภาพกระจกเกิดเงาสะท้อนกลับ กลีบดอกไม้ (กระจกสองด้าน)

ภาพกระจกเกิดเงาสะท้อนกลับ หุ่นคน (กระจกสองด้าน)

สื่อวิทยาศาสตร์





***วิดิโอเรื่อง "ความลับของเเสง"***
คำศัพท์น่ารู้
  Light = แสง
 Reflection = การสะท้อน
Standard = มาตรฐาน
Energy = พลังงาน
substance = สสาร




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น